Car Parking and Bike Lanes

Fenn designers; Tarkoon Suwansukhum: Car and Bike lane

วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่อาจจะชินตากับทุกท่านที่ใช้เส้นทางบนท้องถนนในตามเช้า สาย บ่าย เย็นครับ คงจะปฏิเสธได้ยากครับสำหรับการใช้รถยนต์ของประชาชนในเมืองใหญ่ ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น บางครอบครัว ซื้อบ้านอยู่แนวรอบนอกของเมือง อยู่ในถนนซอยที่ไกลออกไป บางแห่งไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อันเกิดมาจาก บริษัทฯพัฒนาที่ดิน ไปลงทุนตรงนั้น โดยมองว่าต้นทุนของราคาที่ดินยังต่ำอยู่ อันก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา

Fenn Designers;Tarkoon Suwansukhum; Car and Bike lane

บนถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกอโศก มุ่งหน้า สี่แยกคลองเตย เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ผมใช้เส้นทางเป็นประจำ เกือบทุกวันทำงานจะพบว่ามีการจอดรถยนต์ข้างทางซ้อนคันเพื่อรับส่ง จอดส่งของ จอดรถไปซื้อของ จอดลงไปซื้อหาอาหาร ตลอดเส้นทาง ทั้งที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอดตลอดเส้นทาง รถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร จะถูกชะลอให้ช้าลงด้วยช่องกลับรถทางด้านขวามือติดกับเกาะกลางถนน จากนั้นจะถูกลดขนาดช่องทางจราจรจาก 4 ลงเหลือ 3 และ 2 ช่องทางบริเวณหน้าสถานที่เรียกว่า ตลาด สร้างปัญหาในการระบายการจราจรจาก ถนนอโศกที่มีขนาดถนนด้านในจริงเพียงฝั่งละ 2 ช่องทาง สิ่งที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นปัญหาทางจราจรที่เกิดจากผู้ใช้

เส้นทางไม่ปฏิบัตตามกฎจราจร รวมไปถึงเจ้าพนักงานที่ไม่ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย และกลายเป็นการสร้างปัญหาจราจรให้ติดขัดโดยไม่จำเป็น

นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการทำผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นหลุม มีฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ระดับกับผิวถนนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการชะลอความเร็วของรถให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง เปรียบเสมือนไขมันอุดตันในเส้นเลือด  บางแห่งใกล้สถานที่ก่อสร้างมีการนำกรวยยางมาวางเอาไว้เพื่อให้รถบรรทุกคอนกรีตมาจอดรอเทคอนกรีตบนถนนสาธารณะ บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกของจราจรตอนรถคอนกรีตเข้ามายังหน่วยงานก่อสร้างก็เคยพบ

Fenn Designers; Tarkoon Suwansukhum; car parking and bike lane

Fenn Designers; Tarkoon Suwansukhum; Car Parking and bike lane

จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สร้างปัญหาการจราจรให้ติดขัดมาก จนทางกรุงเทพมหานครได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะห้ามจอดรถยนต์ด้วยการทำทางวิ่งของรถจักรยานแทน ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดนัก ถ้าท่านได้ผ่านไปบนถนนสาทร ในระยะหลังจะพบว่า บนถนน มีการตีเส้นแบ่งไว้สำหรับเป็นเส้นทางของ รถจักรยาน และยังมีโครงการสถานีให้เช่นรถจักรยานอยู่ด้วย นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมา หากแต่การกำหนดเส้นทางของ รถจักรยาน ยังไม่อาจแบ่งแยกออกจาก รถยนต์ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ จักรยาน ในบางจุดมีการตีขนาดถนนสำหรับรถเล็กมากจนไม่สามารถวิ่งในความกว้างนั้นและอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

Car parking and Bike Lane

Car parking and bike lane

สิ่งเหล่านี้ควรมีการออกแบบอย่างบูรณาการ มองภาพรวมของปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด หาไม่แล้ว ทางวิ่งจักรยานคงไม่แตกต่างจากทางวิ่งของระบบขนส่งมวลชน BRT ที่มีรถยนต์วิ่งเข้าไปใช้ปะปนกัน และไปเบียดบังผิวทางจราจรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ลดน้อยลงอย่างไม่จำเป็น

car parking and bike lane