Glass Pt.2: Vaguely Opaque!

From simple particles of silica, glass has become one of the most used materials in the construction industry. It’s many valuable characteristics contribute to its value of being one of the most sustainable and wellness promoting products commercially available. Glass allows for: Light transmission Visibility Durability Safety Recyclability many many more…. Today, I want to highlight a specific type of …

Continue Reading

Dangers from Public Utilities

ในที่สุด สะพานแขวนที่ชาวบ้านอำเภอท่าเรือได้ใช้สัญจรทั้งเดินเท้า จักรยาน และ มอเตอร์ไซด้ได้ใช้สัญจรข้ามไปมาระหว่าง 2 ฝั่งลำน้ำ  บริเวณวัดสะตือพุทธไสยาสน์บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ลวดสลิงขาดและได้พังครืนลงมา ผลคือ 5 ชีวิต และ มากกว่า 45 คน บาดเจ็บ จากการไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ดูแลรักษา ให้สะพานแขวนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และให้มีความปลอดภัยต่อผู้มาใช้งาน นี่เป็นเพียง หนึ่งตัวอย่างของสาธารณูปโภคของบ้านเรา ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่นั่งรถเมล์อยู่ดีๆ แล้วก็มีระเบิดดังขึ้น หรือ ยืนรอเรือรับจ้างอยู่ดีๆ ตนขับเรือเร็วมากแข็งขันกันทำให้น้ำซัด อย่างกับสึนามิ ซัดเอาสาวๆที่ใส่รองเท้าไม่ดี พลัดล้มลงตรงนั้นเปียกโซกจากน้ำในคลองแสนแสบนั้นเลย หรืออุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนอันเนื่องมาจาก การออกแบบผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สาธารณะชนเกิดอันตรายขึ้นได้ ฯลฯ การที่หละหลวมให้ผู้รับเหมา เอาลวดสลึง ที่ไม่ได้มาตรฐานใส่แทนที่ลวดสลึงเดิมที่ถูกเปลี่ยนออกไป เมื่อไม่นานมานี้ เราก็ได้แค่คิดไปเองว่า การที่ผู้รับเหมากล้าใช้สายสลึง ที่มีมาตรฐานต่ำขนาดนั้นได้เป็นเพราะ ???????    ก็รู้อยู่  คนที่ทำอย่างนี้ สามารถมีความเป็นอยู่อย่างสุขกายสบายใจได้ไหมหนอ เงินกำไรที่ได้จะทำให้เขาสู้หน้ากับผู้ที่สูญเสียได้อย่างไร อย่างไรก็ตามรัฐ ควรที่จะต้องมีมาตรฐการที่ดี มีคุณธรรมในการจัดการ อย่าให้ไฟลามทุ่ง เดี๋ยวก็ลืมอีก ในหลายประเทศเขาก็มีสะพานแขวนที่สร้างมานานมาก แต่เขาก็ดูแลอย่างดี มีระบบการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ …

Continue Reading

การออกแบบบันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531 กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544  จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ  และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร ผนังทึบ ทนไฟ ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง …

Continue Reading

Fire Safety is Everyone’s Business

Fire safety is everyone’s business.   Over and over again, I am walking in my home town wondering why are the basic health and safety rules totally ignored. The level of education of our population is increasing rapidly, our life style developing fast, but our awareness of how dangerous certain things are is still shocking. I am talking about fire …

Continue Reading

Locker Room Flooring

ระยะหลังได้มีโอกาสไปใช้สปอร์ตคลับบ่อยครั้งครับ เลยพบเจอพื้นห้องที่มีการสร้างระดับพื้นไว้แตกต่างกัน บางจุดเกิดจากความตั้งใจ บางจุดเกิดจากการออกแบบแล้วมีปัญหาจึงมาแก้ปัญหาภายหลัง บางจุดเกิดด้วยความบังเอิญ ตามการออกแบบ เรามักออกแบบให้พื้นห้องน้ำมีการลดระดับพื้นเพื่อให้สามารถล้างพื้นได้โดยน้ำไม่ไหลออกมาภายนอก  แต่ในบางจุดที่ต้องการสำหรับเป็นพื้นที่ของห้องเปลี่ยนชุด จะมีการออกแบบเสมือนหนึ่งเป็นส่วนแห้ง ที่จะใช้เป็นที่วางตู้เก็บเสื้อผ้า เก้าอี้นั่ง บริเวณเปลี่ยนชุด ถ้าจะกล่าวโดยรวมเราอาจจะแบ่งพื้นที่ภายในห้องล๊อคเกอร์ออกได้ดังนี้ 1. พื้นที่บริเวณเปลี่ยนชุด ส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วย บริเวณเปลี่ยนชุด ที่นั่ง บริเวณที่แต่งตัว พื้นที่ส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่แห้งที่ผู้มาใช้จะนั่งเปลี่ยนชุด แต่งตัว ก่อนและหลังเข้าใช้สปอร์ตคลับ แต่เนื่องจากผู้ใช้อาจจะอาบน้ำทำให้เท้าเปียก สามารถเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้จึงทำให้มีบางโครงการเลือกใช้ กระเบื้องยาง (vinyl tile) บางแห่งมีการปูกระเบื้องผิวหยาบกันลื่นเพื่อช่วยลดปัญหาและอุบัติเหตุ  รูปซ้ายมือมีการเน้นสีตรงพื้นต่างระดับในขณะที่รูปขวามือจุดทางเข้าห้องส้วมมีการยกขอบพื้นขึ้นมาและลดระดับพื้นลงไปอีก จะเห็นได้ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะยกขอบพื้นตรงทางเข้าห้องส้วม 2. พื้นที่ห้องส้วม โถปัสสาวะ และอ่างล้างหน้า ส่วนของพื้นที่นี้มีแนวคิดได้ 2 แบบ คือใช้ห้องส้วมและอ่างล้างหน้าเฉพาะผู้ที่มาใช้ห้องล๊อคเกอร์ หรือ ออกแบบให้สามารถใช้ร่วมกันระหว่างผู้มาใช้ห้องล๊อคเกอร์และบุคคลภายนอกทั่วไป เมื่อถูกนำมาใช้งานจริงร่วมกันกับบุคคลภายนอกอาจเกิดปัญหาความไม่เรียบร้อยจากการแต่งตัว และการที่ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ห้องส้วมร่วมกัน ควรออกแบบให้แยกตำแหน่งแต่อยู่ในบริเวณใกล้กันแทน นอกจากนี้การออกแบบควรออกแบบให้วัสดุปูพื้นเป็นแบบไม่ลื่นและสามารถรองรับการทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ไล่สิ่งสกปรกได้ง่าย 3. พื้นที่ส่วนห้องอาบน้ำ ส่วนใหญ่มักจะมีการลดระดับพื้นภายในห้องอาบน้ำให้เป็นส่วนแห้งและส่วนเปียก บางที่มีการยกขอบพื้นขึ้นมา บางที่ยกพื้นแล้วแบ่งเป็นส่วนแห้งแยกระดับพื้นออกจากส่วนที่อาบน้ำ ตามรูปซ้ายมือจะเห็นได้ว่าเป็นการทำพื้นของห้องอาบน้ำยกขอบขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำไหลออกมาบริเวณทางเดินในขณะที่รูปขวามือมีการทำพื้นที่แห้งยกสูงขึ้นและลดระดับพื้นด้านในให้เป็นที่อาบน้ำโดยมีผ้าม่านเป็นตัวแบ่งแยกพื้นที่ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดีในการป้องกันน้ำไหลออกมา กล่าวโดยสรุป การออกแบบพื้นห้องล๊อคเกอร์ควรทำให้มีพื้นต่างระดับน้อยที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่น กรณีมีการเปลี่ยนชนิดของวัสดุพื้นผิวจากผิวหยาบมาเป็นผิวเรียบ ควรมีจุที่ติดพรมเช็ดเท้าเพื่อให้เท้าแห้ง ไม่เกิดการลื่น พื้นของห้องอาบน้ำ อาจทำพื้นส่วนแห้งเท่ากับพื้นภายนอกแล้วค่อยลดระดับพื้นภายในส่วนที่อาบน้ำ เพื่อให้สามารถล้างพื้นห้องน้ำแล้วไล่น้ำลงไปยัง …

Continue Reading

Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

Car Parking and Bike Lanes

วันนี้ขอเสนอเรื่องราวที่อาจจะชินตากับทุกท่านที่ใช้เส้นทางบนท้องถนนในตามเช้า สาย บ่าย เย็นครับ คงจะปฏิเสธได้ยากครับสำหรับการใช้รถยนต์ของประชาชนในเมืองใหญ่ ว่าจำเป็นหรือไม่จำเป็น บางครอบครัว ซื้อบ้านอยู่แนวรอบนอกของเมือง อยู่ในถนนซอยที่ไกลออกไป บางแห่งไม่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อันเกิดมาจาก บริษัทฯพัฒนาที่ดิน ไปลงทุนตรงนั้น โดยมองว่าต้นทุนของราคาที่ดินยังต่ำอยู่ อันก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา บนถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกอโศก มุ่งหน้า สี่แยกคลองเตย เป็นที่ตั้งของกลุ่มอาคารสำนักงานจำนวนหนึ่ง ที่ผมใช้เส้นทางเป็นประจำ เกือบทุกวันทำงานจะพบว่ามีการจอดรถยนต์ข้างทางซ้อนคันเพื่อรับส่ง จอดส่งของ จอดรถไปซื้อของ จอดลงไปซื้อหาอาหาร ตลอดเส้นทาง ทั้งที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอดตลอดเส้นทาง รถที่วิ่งด้วยความเร็วบนถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร จะถูกชะลอให้ช้าลงด้วยช่องกลับรถทางด้านขวามือติดกับเกาะกลางถนน จากนั้นจะถูกลดขนาดช่องทางจราจรจาก 4 ลงเหลือ 3 และ 2 ช่องทางบริเวณหน้าสถานที่เรียกว่า ตลาด สร้างปัญหาในการระบายการจราจรจาก ถนนอโศกที่มีขนาดถนนด้านในจริงเพียงฝั่งละ 2 ช่องทาง สิ่งที่เกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นปัญหาทางจราจรที่เกิดจากผู้ใช้ เส้นทางไม่ปฏิบัตตามกฎจราจร รวมไปถึงเจ้าพนักงานที่ไม่ทำหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย และกลายเป็นการสร้างปัญหาจราจรให้ติดขัดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาของการทำผิวถนนที่ไม่เรียบ เป็นหลุม มีฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้ระดับกับผิวถนนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นการชะลอความเร็วของรถให้เคลื่อนที่ได้ช้าลง เปรียบเสมือนไขมันอุดตันในเส้นเลือด  บางแห่งใกล้สถานที่ก่อสร้างมีการนำกรวยยางมาวางเอาไว้เพื่อให้รถบรรทุกคอนกรีตมาจอดรอเทคอนกรีตบนถนนสาธารณะ บางแห่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวกของจราจรตอนรถคอนกรีตเข้ามายังหน่วยงานก่อสร้างก็เคยพบ จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สร้างปัญหาการจราจรให้ติดขัดมาก จนทางกรุงเทพมหานครได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะห้ามจอดรถยนต์ด้วยการทำทางวิ่งของรถจักรยานแทน …

Continue Reading

Tactiles IV

  สัปดาห์นี้คงเป็นเรื่องของกระเบื้องสำหรับผู้พิการทางสายตาในส่วนทางเดินเท้าภายนอกอาคารครับ  การเดินไปตามตามเส้นทางเดินเท้าด้านข้างถนน คนธรรมดาอาจจะรู้สึกอึดอัดได้ในบางครั้งที่จะต้องพบกับสิ่งกีดขวางตามทางเท้า ไม่ว่าจะเป็น เสาป้ายต่าง ๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่นับวันจะหาคนใช้ได้น้อยมากเนื่องจากการที่โทรศัพท์เคลื่อนที่มีราคาถูกลงมาก ตู้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ตู้สาขาของโทรศัพท์ ลวดสลิงหรือค้ำยังเหล็กที่ค้ำยันเสาไฟ เสาไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สามารถจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่จุดที่ทางเท้าจะต้องถูกตัดขาดเพื่อเป็นทางรถวิ่งเข้าออกอาคารหรือตามบ้านเรื่อนประชาชน นับได้ว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายเพราะเป็นจุดตัดระหว่างถนนกับทางเท้า จำเป็นที่จะต้องดูแลความปลอดภัยตรวจุดนี้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการอำนวยความสะดวกของผู้พิการทางสายตาในการข้ามถนน ตามทางเดินเท้า ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1200 มม ทางเดินราบได้ระดับ เมื่อใดก็ตามที่ทางเดินมีความลาดเอียงเมือพบกับพื้นต่างระดับ ก็จะต้องมีการเตรียม กระเบื้องแบบ Hazard warning tile เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาทราบ มีการทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบขนานกับถนน หรือ แบบตรงมุมโค้งของถนน ทางเดินเท้าบริเวณที่จะข้ามถนน ควรลดระดับเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเดินหกล้มและเพื่อใช้งานร่วมกับผู้พิการที่ใช้รถเข็น (wheel chair) ความลาดเอียงของทางลาดไม่เกิน 1: 12 ในกรณีที่ทางเท้ามีความกว้างไม่มากแบบในบ้านเรา การทำทางลาดจะมีระยะไม่เพียงพอ จึงต้องทำการลดระดับพื้นโดยลดระดับทางเท้าทั้งช่วงตามรูป   2. ทางเดินเท้าที่เข้าอาคารจะมีการเตรียมกระเบื้องปูพื้นเพื่อช่วยบอกเส้นทางเข้าสู่อาคารโดยมีระยะห่างที่ปลอดภัยจากแนวเปิดของบานประตูตามรูป 3.  ทางเดินข้ามถนน โอกาสที่ผู้พิการจะเดินข้ามถนนมีมากและเป็นเรื่องยากลำบากเพราะรถยนต์ที่วิ่งบนถนนมีความเร็วสูง การทำทางข้ามอาจแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบคือ 3.1 ทางเดินข้ามถนนที่มีการลดระดับทางเท้าลงเสมอถนนตามข้อ 1 กรณีที่ถนนมีเกาะกลางจะทำสัญญาณเสียงและราวเหล็กเพื่อบังคับการเดินของผู้พิการทางสายตาไม่ให้ลงไปบนพื้นผิวจราจร และในส่วนของถนนที่ไม่มีเกาะกลางเพื่อความปลอดภัยควรมีการทำราวเหล็กทั้งสองด้านด้วยเช่นกัน      3.2 ทางเดินข้ามถนนที่มีการยกระดับพื้นถนนเพื่อให้คนพิการทางสายตาและผู้ใช้รถเข็น …

Continue Reading