Housing: The Need Part II

Continuing from last week blog I wanted to look at Algeria never ending housing shortage problem in a bit more depth before drawing conclusions as to what I believe is the reason Thailand is successing where Algeria is failing miserably. “Algeria is an important North African Maghreb state with 36 million inhabitants.  At 2 381 000 sq km, it is …

Continue Reading

The science of stairs! สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบันได

วันนี้เรามาดูอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของอาคารครับ บันไดถือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเกือบทุกอาคารที่จะต้องมี  บันไดถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่ง สามารถใช้วัสดุก่อสร้างได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบันไดไม้ ที่มีรูปแบบการก่อสร้างชิ้นงานโดยเฉพาะ บันไดคอนกรีตที่มากับรูปแบบอาคารสาธารณะทั่วไป บันไดเหล็กที่เกิดมาพร้อมกับอาคารที่นิยมใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อความรวดเร็ว รวมไปถึงกระจกถือเป็นอีกวัสดุหนึ่งที่มีการนำมาใช้กับพื้นและราวกันตกบันได บางครั้งคนทั่วไปอาจจะเรียกชื่อองค์ประกอบของบันไดต่างกัน แต่ในทางปฎิบัติของผู้ออกแบบจะมีการเรียกองค์ประกอบของบันไดกันดังนี้ ลูกนอน (Tread) ลูกตั้ง (Riser) จมูกบันได (Nosing) แม่บันได (Stinger) ลูกกรง (Baluster) ราวบันได (Stair railing) เมื่อพูดถึงรูปแบบของบันได บันไดนั้นมีหลายรูปแบบให้เลือกออกแบบตามความต้องการของอาคารและขนาดของพื้นที่บันไดที่จะใช้  รุปแบบบันไดพื้นฐานสำหรับอาคารทั่วไปอาจแบ่งออกได้ดังนี้ บันไดตรง (Straight staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวจากพื้นชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้นหนึ่ง รูปแบบบันไดชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบมาก อันเนื่องมาจากข้อกำหนดของกฎหมายอาคารระยะความสูงระหว่างอาคารรวมไปถึงความยาวของช่วงบันไดที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย บันไดโค้ง (Winder staircase) เป็นบันไดช่วงเดียวทำมุมฉากกันระหว่างช่วงบันไดตอนล่างและตอนบน รูปแบบบันไดชนิดนี้มีการใช้มากในอาคารขนาดเล็กที่ต้องการพื้นที่บันไดน้อย บางอาคารมีการทำจำนวนขั้นบันไดช่วงล่างน้อยกว่าช่องบน เพื่อป้องกันไม่ให้ศรีษะของผู้เดินชนฝ้าเพดาน บันไดชานพักกลาง (Half landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ส่วนใหญ่ช่วงของบันไดจะขนานกัน เป็นบันไดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป อันเนื่องมาจากข้อบังคับด้านกฎหมายอาคารที่จะจำกัดความสูงของบันไดแต่ละช่วงเอาไว้ รวมไปถึงข้อจำกัดของความยาวไม่ที่นำมาทำแม่บันได บันไดโค้งชานพักกลาง (Quarter landing staircase) เป็นบันไดสองช่วง ที่มีชานพักสูงไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ออกแบบได้กำหนดให้มีห้องใช้สอยใต้บันได เช่น ห้องน้ำ ห้องเก็บของ …

Continue Reading

ChopCHOP!

With all the information floating around on what actually constitutes a kitchen and the best companies producing newer and better appliances, it is becoming easier for new home owners to choose the best possible things for themselves! However, it is not only essential that you not only must look at the design and aesthetics but also you must consider very …

Continue Reading

Roof, Balcony, and Roof Gutter

ระยะสัปดาห์หนึ่งที่ผ่านมานี้ ดูเหมือนว่าจะมีฝนตกช่วงเย็นและช่วงดึกอยู่แทบทุกวัน จนทำให้หลายสถานที่มีน้ำท่วมอันเกิดมาจากฝนตกลงมาอย่างหนัก และในเวลาเดียวกันคงมีบ้านของหลาย ๆ ท่านเกิดน้ำท่วมขังชั่วคราวไปจนถึงเกิดน้ำซึมตามหลังคาดาดฟ้า หรือเกิดการรั่วซึมของน้ำตามบริเวณที่เป็นหลังคา การรั่วซึมของน้ำฝนยังคงเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีการต่อเติมอาคาร ไปจนถึงบริเวณที่อาคารมีการแบ่งแยกโครงสร้างที่เป็นผืนขนาดใหญ่ จากที่กล่าวมาข้างต้น อาคารโครงการขนาดใหญ่ มักจะมีช่างที่ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงหรือซ่อมแซมประจำอาคารไว้คอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่บ้านพักอาศัยส่วนใหญ่มักจะไม่มีช่างประจำหมู่บ้าน ซึ่งคงต้องฝากความหวังเอาไว้กับผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านและผู้ออกแบบที่จะออกแบบให้ดีและมีการสร้างอาคารด้วยฝีมือของช่างอาชีพ การออกแบบที่ดีจึงควรมีการกำหนดระบบกันซึมของหลังคาไว้อย่างเหมาะสม หลังคาคอนกรีตที่อยู่ภายนอกอาคารต้องการการทำระบบกันซึมเพื่อป้องกันน้ำซึมจากผิวหน้าด้านบนเข้าไปที่เนื้อคอนกรีตและเหล็กเสริมภายใน อันเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมที่เหล็กเสริมในคอนกรีต หลังคากระเบื้องก็ต้องมีการปูโดยดูจากทิศทางของลมและมีการทำหลังคาปีกนกที่ถูกต้องเพื่อช่วยลดปัญหาของการเกิดน้ำไหลย้อน รั่ว ซึม ของหลังคาลงสู่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จากที่กล่าวมา เจ้าของบ้านควรดูให้ดีและให้มีการออกแบบที่ป้องกันปัญหาของน้ำรั่วซึม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี การปูกระเบื้องหลังคา 1. หลังคากระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องลอนคู่ ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบให้มีตะเฆ่ราง (รางน้ำ) อยู่เหนือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน 2. หลังคาคอนกรีตหรือดาดฟ้า ควรทำระบบกันซึมและมีการลาดเอียงพื้นหลังคาลงสู่ รูระบายน้ำที่พื้น เพื่อหลีกเลี่ยงการขังตัวของน้ำ รูระบายน้ำฝนต้องมีการการป้องกันเศษขยะหรือวัสดุที่มาปิดบังได้ กรณีมีการก่อผนังกันตก จะต้องมีการทำรูระบายน้ำล้น (overflow) เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง 3. ระเบียงของห้องนอนที่มีการใช้พื้นไม้ ควรออกแบบให้มีรูระบายน้ำล้นเสริมด้วยเสมอเพื่อป้องกับน้ำท่วมขังจนเข้าท่วมห้องนอนได้ ผนังหรือราวกันตกที่เป็นแบบทึบ ไม่ควรสร้างสูงเกินกว่าระดับของพื้นไม้ ควรให้ขอบผนังต่ำกว่าระดับพื้นห้องที่เป็นไม้ไม้น้อยกว่า 50 มม เสมอ 4. ถ้ามีหลังคาเหนือระเบียงห้องนอน ควรให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำฝนไหลจากชายหลังคาลงสู่พื้นของระเบียงห้องนอนหรือผนัง  น้ำฝนเหล่านี้นอกจากสามารถสร้างความสกปรกให้กับผนังแล้วยังสร้างการรั่วซึมของน้ำผ่านผนังและการรั่วซึมจากน้ำท่วมขังได้ ระเบียงที่มีน้ำฝนตกลงมาจากชายคาราวกันตกผนังกระจกที่สามารถกักเก็บน้ำฝนได้  

Continue Reading

The Construction Site without Supervisor Part 4 : Roof Deck

Blog ฉบับนี้ ขอกล่าวถึงเรื่องการก่อสร้างหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเรียกว่าดาดฟ้า หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าตามมาตรฐานสากลหลายฉบับรวมทั้งมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดว่าอย่างน้อยความหนาของพื้นคอนกรีตหลังคาต้องหนาไม่น้อยกว่า 12 ซม ก๊ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้การหล่อคอนกรีตหนาขนาดนี้ อย่างน้อยพื้นคอนกรีตก็ไม่ตกท้องช้าง เป็นเหตุให้เวลาฝนตกลงมาน้ำขังเจิ่งนองบนผิวบนคอนกรีต พอนานวันเข้าน้ำที่ขังอยู่ก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อคอนกรีตตามรอยโพร่ง ซึ่งธรรมชาติของคอนกรีตจะมีลักษณะเป็นโพรง (Porous properties) เมื่อปริมาณน้ำซึมผ่านเข้าไปในเนื้อคอนกรีตมาก และซึมลงสู่ผิวเหล็กเสริม หากก๊าซออกซิเจนเข้าไปร่วมด้วย คราวนี้ก็เกิดปฎิบัติการร่วมด้วยช่วยกัน ความชื้น รวมกับ เหล็ก และอากาศออกซิเจน ก็จะเกิดสนิมในเหล็ก จึงมักเห็นพื้นดาดฟ้าเกิดรอยสนิมของเหล็ก อยู่เสมอหลายครั้ง     การที่คอนกรีตหนา ก็จะช่วยป้องกันความร้อนที่แผ่ลงมาโดยตรงจากแสงอาทิตย์ แต่อย่างไรก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องจากความร้อนสามารถแผ่ความร้อนจากบนดาดฟ้าลงสู่ห้องข้างใต้ดาดฟ้าได้อยู่ดี หากมีการถ่ายเทความร้อนภายในห้องอย่างเหมาะสมพื้นหนาๆ ของดาดฟ้าก็จะป้องกันความร้อนได้อย่างดีการป้องกันไฟดีขึ้น คอนกรีตเสริมเหล็กมีคุณสมบัติเป็นโครงสร้างทนไฟที่ดีอยู่แล้ว การที่พื้นหนาขึ้น การป้องกันไฟ ก็จะมีมากขึ้นดังนั้น หากบ้านท่านสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและมีดาดฟ้า ต้องแน่ใจว่าผู้รับเหมาเทคอนกรีตดาดฟ้าหนาอย่างน้อย 12 ซมอีกประการสำคัญประการหนึ่งที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ตรวจสอบดูในระหว่างการก่อสร้าง สอบถามผู้รับเหมาก่อนการเทคอนกรีตว่า จัดการกับระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำรั่วซึมบนดาดฟ้าอย่างไร อย่างน้อยควรประกอบด้วย1. พื้นคอนกรีตจะต้องมีความลาดเอียงไปสู่ช่องระบายน้ำ ( Roof drain) ความลาดเอียงอย่างน้อย 1:200 งงแล้วสิว่า 1:200 จะตรวจวัดได้อย่างไร? ในทางเทคนิดหมายถึง ในระยะ 200 เมตร ระดับลดลง …

Continue Reading

How to Design Car Parking for Low-Rise Buildings

 ผมเป็นคนหนึ่งที่ต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนหรือไปดูสถานที่ก่อสร้างครับ หลายครั้งที่ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะมองหาร้านอาหารอร่อย ๆ ทาน บางครั้งก็จอดในลานจอดรถ บางครั้งก็จอดข้างถนน บางครั้งก็จอดในอาคารจอดรถยนต์ บ่อยครั้งที่หาที่จอดรถไม่ได้   วันนี้จึงอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกันที่จอดรถยนต์ของอาคารขนาดเล็กครับ บ้านเรายังมี อพาร์ทเมนท์ ร้านอาหาร super market หรือร้านกาแฟ ขนาดเล็กกระจายอยู่ตามซอยหรือถนนทั่วไป อาคารหลายแห่งก็ได้มีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์เอาไว้บริการลูกค้าไว้หลายแบบ ที่พอจะแบ่งรูปแบบได้ดังนี้ 1. จอดรถด้านหน้าอาคาร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ไม่มีพื้นที่โครงการใหญ่มากและมีที่ดินหน้ากว้างติดถนน การจอดรถแบบเฉียงไปตามแนวถนนดูจะเป็นสิ่งที่น่าจะจัดทำ เพราะใช้พื้นที่ในการจอดรถยนต์น้อย สามารถใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ว่างด้านหน้าอาคาร และไม่นับเป็นพื้นที่อาคารอีกด้วย แต่การจอดรถแบบนี้อาจสร้างปัญหาให้กับการจราจรได้โดยง่าย ทุกครั้งที่มีการเข้าจอดหรือออกจากที่จอดรถ จะมีการชะลอตัวของการจราจร บางครั้งสามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย 2. จัดที่จอดรถและทางวิ่งบนที่ว่างของโครงการและสร้างอาคารไว้ด้านหนึ่งหรือโดยรอบ วิธีนี้เหมาะกับโครงการขนาดไม่ใหญ่มาก การจัดที่จอดรถแบบนี้จะได้พื้นที่จอดรถที่มีราคาค่าก่อสร้างต่ำ ไม่ต้องนำพื้นที่นี้มาคิดเป็นพื้นที่อาคาร ทำให้จัดที่จอดรถชิดเขตที่ดินได้ สำหรับโครงการที่ติดปัญหาเรื่องขนาดพื้นที่อาคารและการออกแบบอาคารที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็สามารถใช้แนวทางนี้ได้ 3. จัดที่จอดรถยนต์ใต้อาคาร การจัดที่จอดรถยนต์แบบนี้ได้ประโยชน์ต่อผู้จอดที่มีร่มเงาอาคารและที่กันฝน เหมาะสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจัดที่จอดรถยนต์ตามความต้องการไว้บนพื้นที่ชั้นเดียว การออกแบบเมื่อมีที่จอดรถยนต์เกิน 7 คัน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาคารในเรื่องระยะร่น และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่า 4. จัดที่จอดรถยนต์นอกอาคารและจัดสร้างหลังคาคลุม รูปแบบที่จอดรถแบบนี้มีเห็นได้ทั่วไป หลังคามีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างแบบถาวรที่เป็นเหล็ก กระเบื้อง ไปจนถึงหลังคาแบบกึ่งถาวรที่ใช้ตาข่ายพลาสติกมาทำหลังคา …

Continue Reading

How’s it Cooking

Continuing on the type of kitchen layouts, it is important to evaluate your space to determine the best layout that  fits . Previously, I outlined the standard layouts for a kitchen and how there should be a work triangle formed between the equipment and appliances whenever possible.  The layout will greatly impact the functionality ofyour kitchen. Now the most other …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 3: Super structures

Blog ฉบับนี้ ต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานหล่อคอนกรีตส่วนเหนือฐานราก หรือส่วนเหนือดิน ประกอบด้วยตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่ ส่วนพื้นสำเร็จรูปจะมีการก่อสร้างอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะได้นำเสนอภายหลังขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้ได้ตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่นั้น มีขบวนการโดยย่อดังนี้ จะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนการทำงานกว่าจะได้ส่วนของโครงสร้างคอนกรีตแต่ละส่วน ต้องผ่านขนวนการหลายขั้นตอน ที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ ชิ้นงานคอนกรีตออกมาถูกต้อง ทั้งในส่วนของการออกแบบและสอดคล้องกับงานส่วนอื่นๆ ของอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานส่วนสถาปัตยกรรม หรือที่ทราบกันดี คือ ส่วนผนังของอาคาร หากทำการก่อสร้าง ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องก็มักจะมีผลตามมา มากน้อยตามความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขนาดของห้องเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น สุขภัณฑ์ ใส่ไม่ได้ลงตัว เป็นต้น คำถาม คือ จะทำการตรวจสอบอย่างไร ? หากเจ้าของอาคาร หรือโครงการใหญ่ มีวิศวกร หรือสถาปนิก หรือผู้มีความรู้ด้านการก่อสร้างก็คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนัก แต่หากเป็นโครงการหรืออาคารขนาดเล็กไม่มีบุคลากรดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือดูแลการก่อสร้างให้ ก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง หรืออาศัยความเชื่อถือผู้รับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาบางคนทำการก่อสร้างให้อย่างดี ก็ดีไป บางรายก็อาจจะไม่ค่อยมีความรู้ทางเทคนิดมากมายนัก เนื่องจากถูกฝึกสอนมาหรือมีประสบการณ์มาอย่างไร ดังนั้นผมแนะนำให้อ่าน blog นี้ ต่อไปอีกสักนิด ผมหวังว่าคงช่วยท่านได้บ้าง ถ้าจะต้องควบคุมการก่อสร้างเองเมื่อผู้รับเหมาทำการติดตั้งไม้แบบเพื่อเป็นแบบหล่อแล้ว สังเกตุดูว่ามีการยึดไม้แบบแน่นหนาดีหรือเปล่า ซึ่งก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา ที่จะต้องทำแบบให้ถูกต้องถึงขั้นตอนที่ผู้รับเหมาทำการผูกเหล็ก …

Continue Reading

What’s Cooking

Designing a house is difficult in all senses; in our field we consider that if you could master the design of a house then you have a strong foundation for designing almost anything. I’ve been travelling for a couple of weeks to Scandinavia and I’ve seen all different types of houses and their layouts. Let’s look at the kitchen; there …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 2

Blog ที่ผมเขียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสาเข็ม วันนี้ จะพูดถึงเรื่องการฐานราก (Footing) ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของการรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดินทั้งโดยตรง หรือส่งผ่านเสาเข็มสู่ดิน ในการก่อสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นฐานรากที่วางบนชั้นดินแช็งไม่ต้องการเสาเข็ม (Footing on ground) เช่น ที่ระยอง เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และอิสาน หรือเป็นดินอ่อนอย่างในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่ฐานรากจะต้องนั่งบนเสาเข็ม (Footing on Pile) งานก่อสร้างฐานรากที่ดี อย่างน้อยควรเททรายหยาบรองพื้น ( Sand bedding) ประมาณ 10 ซม และเทคอนกรีตหยาบ (Lean concrete) อีก 5 ซม บนทรายหยาบก่อนการตั้งแบบหล่อฐานราก ช่างหลายคนก็ไม่ทำ ด้วยเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะไม่มีผู้ควบคุมงาน ช่างก็ถือโอกาศไม่ทำเอาซะเลย การรองพื้นฐานรากด้วยทรายหยาบ และคอนกรีตหยาบ มีประโยชน์หลายประการ ประการแรกทรายหยาบจะช่วยปรับระดับดินเดิมในอยู่ในระนาบ ทำหน้าที่คอยดูดซับแรงกระทำจากอาคารสู่พื้นดิน และเป็นตัวกลางกั้นระหว่างดินที่อาจจะมีสารบางอย่างที่เป็นภัยแก่คอนกรีตฐานราก นอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เลอะเทะมาก ส่วนคอนกรีตหยาบ จะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับแก่ฐานรากให้ฐานรากมีความมั่นคงขึ้น และเป็นตัวกันไม่ไห้เนื้อซีเมนต์ที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตไหลหนีซึมหายไปในพื้นดิน อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดเอียง และดินเดิมเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ดินเหนียวปนซิลด์ เมื่อมีน้ำใต้ดินสูง อาจทำให้ฐานรากที่นั่งบนดินประเภทดังกล่าว สไลด์หนีออกไปได้เป็นเหตุให้ อาคารทรุด …

Continue Reading