Tactiles III

  สัปดาห์นี้เราจะไปดูเรื่องของการป้องกันการเดินชนของผู้พิการทางสายตาจากส่วนตกแต่งภายในอาคารครับ บางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ มีของผู้พิการทางสายตาต้องอาศัยความจดจำของผู้พิการและสัญญลักษณ์ของเส้นทางบนพื้น หรือ ป้ายส่งเสียงเตือน รวมไปถึงป้ายอักษรเบลล์ อาคารสาธารณะทั่วไปมักจะมีการติดตั้งป้ายโฆษณายื่นออกมาจากผนัง รวมไปถึงบรรดาตู้สายดับเพลิงที่อาจจะมีการติดบนผนังให้ยื่นออกมาในบริเวณทางเดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนทั่วไป แต่เป็นสิ่งกีดขวางที่ผู้พิการทางสายตาอาจจะใช้ไม้เท้านำทางตรวจหาไม่พบ และทำให้เดินชน ได้รับบาดเจ็บได้ง่าย การเดินไปตามทางเดินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่น่ามีอันตรายเกิดขึ้น แต่จุดที่เป็นพื้นที่หน้าประตูกลับเป็นอีกจุดที่สามารถเกิดการเดินชนของผู้พิการทางสายตา รวมไปถึงคนปกติทั่วไป โดยมาตรฐานในการออกแบบ เรามักจะทำหนดให้ประตูฉุกเฉินเปิดจากภายในห้องสู่ทางเดินเพื่อเดินต่อเนื่องไปยังทางหนีไฟ การออกแบบโดยกำหนดให้ประตูมีระยะร่นถอยเข้าไปเพียงพอที่จะไม่ให้บานประตูล้ำเข้ามาในเส้นทางเดินจึงนับเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุได้ รวมไปถึงในช่องบันไดหนีไฟ การออกแบบที่ช่วยให้เกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุดย่อมสร้างความปลอดภัยมากที่สุดในการใช้งานของทุก ๆ คน รูปด้านล่างเป็นตัวอย่างการออกแบบโดยไม่ให้บานประตูเปิดเข้ามากีดขวางทางเดินของคนในช่องบันไดหนีไฟ อาคารที่มีการออกแบบบันไดแบบเปิดโล่งนับเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถสร้างอันตรายให้กับผู้พิการทางสายตาได้เช่นกัน การเดินไปตามทางเดินเมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ใต้บันได จะมีการเตรียมผนังหรือราวเหล็กเป็นแนวป้องกันไม่ให้เดินเข้าไปในระยะที่มีความสูงจากพื้นถึงท้องบันไดที่มีระยะน้อยกว่า 2 เมตร สำหรับคนตาดี การเดินไปตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน จะอาศัยการดูจากแผนที่ผังภายในอาคารนั้น ๆ แต่สำหรับผู้พิการ จะมีสามารถรับรู้จากป้ายเหล่านี้ได้ เว้นแต่จะใช้ป้ายแบบที่มีเสียงอธิบาย และส่วนมากก็จะมีเพียงแค่จุดเดียวของแต่ละอาคาร จุดต่าง ๆ ก็จะอาศัยป้ายบอกเส้นทาง ป้ายบอกทางหนีไฟ เป็นหลัก ป้ายที่เป็นอักษรเบลล์จึงเป็นสิ่งที่ควรมีการเตรียมเอาไว้ร่วมกับป้ายในอาคารเช่นกัน ป้ายบอกเส้นทางหนีไฟแบบอักษรเบลล์/caption

Continue Reading