FAR & Development in India
- Tarkoon Suwansukhum
- June 6, 2013
- Sustainability
- architecture, Design, Development in India, FAR, FENN DESIGNERS, Floor Area Ratio, Planning, Sustainability, Tarkoon Suwansukhum
- 0 Comments
ได้มีประสบการณ์ออกแบบงานในประเทศอินเดียมาซักระยะหนึ่งแล้วครับ จะว่าไปก็นานหลายปีแล้วเหมือนกัน จึงอยากนำเรื่องการออกแบบ วางผัง ของโครงการอาคารพักอาศัยในประเทศอินเดียมาเปรียบเทียบกับของบ้านเราครับ
ประเทศไทยมีการควบคุม FAR ในกฎหมายอาคารที่ 10:1 และในแต่ละพื้นที่ก็จะมีการให้สัดส่วน FAR ต่างกันไป เช่น ในกรุงเทพฯ พื้นที่ในย่านพักอาศัยหนาแน่นมาก จะมี FAR ลดลงเหลือไม่เกิน 8:1 และลดหลั่นไปตามลำดับของความสำคัญของแต่ละพื้นที่ ทางด้านกฎหมายอาคารจะกำหนดให้มีพื้นที่อาคารปกคลุมดินและพื้นที่เปิดโล่งสำหรับอาคารพักอาศัยที่ 70:30 และมีการกำหนดให้มีระยะร่นของแนวอาคารห่างจากเขตที่ดินสำหรับอาคารสูงและใหญ่พิเศษที่ไม่น้อยกว่า 6 เมตร รวมไปถึงการอนุญาตให้สร้างอาคารได้สูงไม่เกินสองเท่าของความกว้างถนนด้านหน้าโครงการ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดจากคณะกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมออกมาควบคุมพื้นที่สีเขียวที่เป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้อยู่อาศัยในโครงการนั้น ๆ
สำหรับอินเดีย ประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก มีการกำหนดรูปแบบของระยะร่นอาคารจากเขตที่ดิน รวมไปถึง FAR เอาไว้แตกต่างจากบ้านเราพอสมควรโดยยึดโยงกับขนาดความกว้างของถนน เช่น
ถนนกว้าง 14.50-20.00 ม FAR 2.25:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.50:1 ในเขตอื่น ๆ
ถนนกว้าง 20.00-24.00 ม FAR 2.50:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 2.75:1 ในเขตอื่น ๆ
ถนนกว้างกว่า 24.00 ม FAR 2.75:1 ในเขตพาณิชยกรรม และ 3.00:1 ในเขตอื่น ๆ
พื้นที่อาคารปกคลุมดิน สำหรับบ้านเราเมื่อออกแบบให้อาคารมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดิน 6.00 ม โดยรอบก็จะได้พื้นที่เปิดโล่ง 30% ตามที่กฎหมายต้องการ
แต่ถ้าเป็นในอินเดียพื้นที่อาคารปกคลุมดินสำหรับอาคารพักอาศัย พื้นที่ดินไม่เกิน 200 ตรม ได้ไม่เกิน 65% พื้นที่ดินมากกว่า 500 ตรม ได้ไม่เกิน 50% ส่วนอาคารประเภทอื่นให้ก่อสร้างได้ไม่เกิน 40% ส่วนอาคารประเภทอื่นให้มีอาคารปกคลุมดินได้ไม่เกิน 40%
ระยะร่นของอาคารจากเขตที่ดิน บ้านเราร่นตามความสูงอาคาร โดยแบ่งกลุ่มของความสูงอาคารเป็น 3 ระดับ
อาคารสูงไม่เกิน 15 ม เว้นระยะไม่น้อยกว่า 1 ม โดยรอบ
อาคารสูงไม่เกิน 23 ม เว้นระยะไม่น้อยกว่า 3 ม โดยรอบ
อาคารสูงเกิน 23 ม เว้นระยะไม่น้อยกว่า 6 ม โดยรอบ
ลองดูของอินเดียบ้างครับ
อาคารสูงไม่เกิน 8 ม ระยะร่น 1.2, 1.2, 2.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงไม่เกิน 18 ม ระยะร่น 3.5, 3.5, 5.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงไม่เกิน 24 ม ระยะร่น 5.0, 5.0, 7.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงไม่เกิน 36 ม ระยะร่น 6.0, 6.5, 9.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงไม่เกิน 60 ม ระยะร่น 6.0, 6.5, 9.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงไม่เกิน 80 ม ระยะร่น 10.0, 15%ของความสูง, 12.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
อาคารสูงเกิน 80 ม ระยะร่น 12.0, 15%ของความสูง, 14.0 ม (ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง)
จากเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า การออกแบบอาคารในอินเดีย ประเทศที่ผมรู้สึกว่ามีการปลูกสร้างอาคารอยู่กันแบบหนาแน่น ได้มีการปรับปรุงและกำหนดทิศทางเมืองที่สร้างกันใหม่ให้มีความหลวมและมีที่ว่าง และที่สำคัญพื้นที่เปิดโล่งของบ้านเขาถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่เป็นดินสำหรับปลูกต้นไม้ไว้ครึ่งหนึ่งของพื้นที่เปิดโล่ง กำหนดให้มี บ่อน้ำหรือทะเลสาบไว้ถึง 5% ของพื้นที่เปิดโล่ง ช่างต่างจากบ้านเราราวฟ้ากับดิน บริษัทฯผู้พัฒนาที่ดินบ้านเราที่ทำการสร้างอาคารชุดพักอาศัยยังคงมองผลทางการลงทุนเพื่อให้ใช้ FAR มากที่สุด สร้างที่จอดรถยนต์ที่มีราคาถูกที่สุดด้วยการสร้างที่จอดรถยนต์บนดิน โดยจัดเตรียมพื้นที่สีเขียวเท่าที่จำเป็นตามข้อกำหนดของกฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม และจัดเตรียมสระว่ายน้ำและพื้นที่สันทนาการไว้เพียงเล็กน้อย คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะต้องเลือกโครงการที่เหมาะสม ถ้ายังมีอยู่ในบ้านเรา
เปรียบเทียบผังอาคารที่จัดที่จอดรถใต้ดินกับบนดิน
Related Posts
- Sheetal Chailertborisuth
- April 24, 2013
Innovative Sockets
With Electrical Sockets, Electrical adapters, chargers, remote control dominating our lives I t ..
- Lydia Tiasiri
- October 5, 2012
WATCH OUT! (for signs)
GO. STOP. RESTROOM. LIFT. STAIRS. etc …. These days we seems to be surrounded by ..
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…
Thank you John, that's absolutely right. There's nothing worse than going to a place that only brings you discomfort.
Great piece! Layout really does have a huge impact on how a space functions and is used. A good layout…