Dangers from Public Utilities

ในที่สุด สะพานแขวนที่ชาวบ้านอำเภอท่าเรือได้ใช้สัญจรทั้งเดินเท้า จักรยาน และ มอเตอร์ไซด้ได้ใช้สัญจรข้ามไปมาระหว่าง 2 ฝั่งลำน้ำ  บริเวณวัดสะตือพุทธไสยาสน์บ้านท่างาม หมู่ 6 ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ลวดสลิงขาดและได้พังครืนลงมา ผลคือ 5 ชีวิต และ มากกว่า 45 คน บาดเจ็บ จากการไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ดูแลรักษา ให้สะพานแขวนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และให้มีความปลอดภัยต่อผู้มาใช้งาน นี่เป็นเพียง หนึ่งตัวอย่างของสาธารณูปโภคของบ้านเรา ยังไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่นั่งรถเมล์อยู่ดีๆ แล้วก็มีระเบิดดังขึ้น หรือ ยืนรอเรือรับจ้างอยู่ดีๆ ตนขับเรือเร็วมากแข็งขันกันทำให้น้ำซัด อย่างกับสึนามิ ซัดเอาสาวๆที่ใส่รองเท้าไม่ดี พลัดล้มลงตรงนั้นเปียกโซกจากน้ำในคลองแสนแสบนั้นเลย หรืออุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนอันเนื่องมาจาก การออกแบบผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สาธารณะชนเกิดอันตรายขึ้นได้ ฯลฯ การที่หละหลวมให้ผู้รับเหมา เอาลวดสลึง ที่ไม่ได้มาตรฐานใส่แทนที่ลวดสลึงเดิมที่ถูกเปลี่ยนออกไป เมื่อไม่นานมานี้ เราก็ได้แค่คิดไปเองว่า การที่ผู้รับเหมากล้าใช้สายสลึง ที่มีมาตรฐานต่ำขนาดนั้นได้เป็นเพราะ ???????    ก็รู้อยู่  คนที่ทำอย่างนี้ สามารถมีความเป็นอยู่อย่างสุขกายสบายใจได้ไหมหนอ เงินกำไรที่ได้จะทำให้เขาสู้หน้ากับผู้ที่สูญเสียได้อย่างไร อย่างไรก็ตามรัฐ ควรที่จะต้องมีมาตรฐการที่ดี มีคุณธรรมในการจัดการ อย่าให้ไฟลามทุ่ง เดี๋ยวก็ลืมอีก ในหลายประเทศเขาก็มีสะพานแขวนที่สร้างมานานมาก แต่เขาก็ดูแลอย่างดี มีระบบการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ …

Continue Reading

Fire Safety is Everyone’s Business

Fire safety is everyone’s business.   Over and over again, I am walking in my home town wondering why are the basic health and safety rules totally ignored. The level of education of our population is increasing rapidly, our life style developing fast, but our awareness of how dangerous certain things are is still shocking. I am talking about fire …

Continue Reading

The Construction Site without Supervisor Part 4 : Roof Deck

Blog ฉบับนี้ ขอกล่าวถึงเรื่องการก่อสร้างหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเรียกว่าดาดฟ้า หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าตามมาตรฐานสากลหลายฉบับรวมทั้งมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดว่าอย่างน้อยความหนาของพื้นคอนกรีตหลังคาต้องหนาไม่น้อยกว่า 12 ซม ก๊ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้การหล่อคอนกรีตหนาขนาดนี้ อย่างน้อยพื้นคอนกรีตก็ไม่ตกท้องช้าง เป็นเหตุให้เวลาฝนตกลงมาน้ำขังเจิ่งนองบนผิวบนคอนกรีต พอนานวันเข้าน้ำที่ขังอยู่ก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อคอนกรีตตามรอยโพร่ง ซึ่งธรรมชาติของคอนกรีตจะมีลักษณะเป็นโพรง (Porous properties) เมื่อปริมาณน้ำซึมผ่านเข้าไปในเนื้อคอนกรีตมาก และซึมลงสู่ผิวเหล็กเสริม หากก๊าซออกซิเจนเข้าไปร่วมด้วย คราวนี้ก็เกิดปฎิบัติการร่วมด้วยช่วยกัน ความชื้น รวมกับ เหล็ก และอากาศออกซิเจน ก็จะเกิดสนิมในเหล็ก จึงมักเห็นพื้นดาดฟ้าเกิดรอยสนิมของเหล็ก อยู่เสมอหลายครั้ง     การที่คอนกรีตหนา ก็จะช่วยป้องกันความร้อนที่แผ่ลงมาโดยตรงจากแสงอาทิตย์ แต่อย่างไรก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องจากความร้อนสามารถแผ่ความร้อนจากบนดาดฟ้าลงสู่ห้องข้างใต้ดาดฟ้าได้อยู่ดี หากมีการถ่ายเทความร้อนภายในห้องอย่างเหมาะสมพื้นหนาๆ ของดาดฟ้าก็จะป้องกันความร้อนได้อย่างดีการป้องกันไฟดีขึ้น คอนกรีตเสริมเหล็กมีคุณสมบัติเป็นโครงสร้างทนไฟที่ดีอยู่แล้ว การที่พื้นหนาขึ้น การป้องกันไฟ ก็จะมีมากขึ้นดังนั้น หากบ้านท่านสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและมีดาดฟ้า ต้องแน่ใจว่าผู้รับเหมาเทคอนกรีตดาดฟ้าหนาอย่างน้อย 12 ซมอีกประการสำคัญประการหนึ่งที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ตรวจสอบดูในระหว่างการก่อสร้าง สอบถามผู้รับเหมาก่อนการเทคอนกรีตว่า จัดการกับระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำรั่วซึมบนดาดฟ้าอย่างไร อย่างน้อยควรประกอบด้วย1. พื้นคอนกรีตจะต้องมีความลาดเอียงไปสู่ช่องระบายน้ำ ( Roof drain) ความลาดเอียงอย่างน้อย 1:200 งงแล้วสิว่า 1:200 จะตรวจวัดได้อย่างไร? ในทางเทคนิดหมายถึง ในระยะ 200 เมตร ระดับลดลง …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 3: Super structures

Blog ฉบับนี้ ต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานหล่อคอนกรีตส่วนเหนือฐานราก หรือส่วนเหนือดิน ประกอบด้วยตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่ ส่วนพื้นสำเร็จรูปจะมีการก่อสร้างอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะได้นำเสนอภายหลังขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้ได้ตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่นั้น มีขบวนการโดยย่อดังนี้ จะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนการทำงานกว่าจะได้ส่วนของโครงสร้างคอนกรีตแต่ละส่วน ต้องผ่านขนวนการหลายขั้นตอน ที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ ชิ้นงานคอนกรีตออกมาถูกต้อง ทั้งในส่วนของการออกแบบและสอดคล้องกับงานส่วนอื่นๆ ของอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานส่วนสถาปัตยกรรม หรือที่ทราบกันดี คือ ส่วนผนังของอาคาร หากทำการก่อสร้าง ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องก็มักจะมีผลตามมา มากน้อยตามความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขนาดของห้องเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น สุขภัณฑ์ ใส่ไม่ได้ลงตัว เป็นต้น คำถาม คือ จะทำการตรวจสอบอย่างไร ? หากเจ้าของอาคาร หรือโครงการใหญ่ มีวิศวกร หรือสถาปนิก หรือผู้มีความรู้ด้านการก่อสร้างก็คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนัก แต่หากเป็นโครงการหรืออาคารขนาดเล็กไม่มีบุคลากรดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือดูแลการก่อสร้างให้ ก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง หรืออาศัยความเชื่อถือผู้รับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาบางคนทำการก่อสร้างให้อย่างดี ก็ดีไป บางรายก็อาจจะไม่ค่อยมีความรู้ทางเทคนิดมากมายนัก เนื่องจากถูกฝึกสอนมาหรือมีประสบการณ์มาอย่างไร ดังนั้นผมแนะนำให้อ่าน blog นี้ ต่อไปอีกสักนิด ผมหวังว่าคงช่วยท่านได้บ้าง ถ้าจะต้องควบคุมการก่อสร้างเองเมื่อผู้รับเหมาทำการติดตั้งไม้แบบเพื่อเป็นแบบหล่อแล้ว สังเกตุดูว่ามีการยึดไม้แบบแน่นหนาดีหรือเปล่า ซึ่งก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา ที่จะต้องทำแบบให้ถูกต้องถึงขั้นตอนที่ผู้รับเหมาทำการผูกเหล็ก …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 2

Blog ที่ผมเขียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสาเข็ม วันนี้ จะพูดถึงเรื่องการฐานราก (Footing) ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของการรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดินทั้งโดยตรง หรือส่งผ่านเสาเข็มสู่ดิน ในการก่อสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นฐานรากที่วางบนชั้นดินแช็งไม่ต้องการเสาเข็ม (Footing on ground) เช่น ที่ระยอง เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และอิสาน หรือเป็นดินอ่อนอย่างในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่ฐานรากจะต้องนั่งบนเสาเข็ม (Footing on Pile) งานก่อสร้างฐานรากที่ดี อย่างน้อยควรเททรายหยาบรองพื้น ( Sand bedding) ประมาณ 10 ซม และเทคอนกรีตหยาบ (Lean concrete) อีก 5 ซม บนทรายหยาบก่อนการตั้งแบบหล่อฐานราก ช่างหลายคนก็ไม่ทำ ด้วยเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะไม่มีผู้ควบคุมงาน ช่างก็ถือโอกาศไม่ทำเอาซะเลย การรองพื้นฐานรากด้วยทรายหยาบ และคอนกรีตหยาบ มีประโยชน์หลายประการ ประการแรกทรายหยาบจะช่วยปรับระดับดินเดิมในอยู่ในระนาบ ทำหน้าที่คอยดูดซับแรงกระทำจากอาคารสู่พื้นดิน และเป็นตัวกลางกั้นระหว่างดินที่อาจจะมีสารบางอย่างที่เป็นภัยแก่คอนกรีตฐานราก นอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เลอะเทะมาก ส่วนคอนกรีตหยาบ จะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับแก่ฐานรากให้ฐานรากมีความมั่นคงขึ้น และเป็นตัวกันไม่ไห้เนื้อซีเมนต์ที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตไหลหนีซึมหายไปในพื้นดิน อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดเอียง และดินเดิมเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ดินเหนียวปนซิลด์ เมื่อมีน้ำใต้ดินสูง อาจทำให้ฐานรากที่นั่งบนดินประเภทดังกล่าว สไลด์หนีออกไปได้เป็นเหตุให้ อาคารทรุด …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 1

ผมเคยเขียน blog เมื่อนานมาแล้ว ส่วนที่เรามองไม่เห็น ผู้รับเหมามักจะมองข้ามไม่ทำให้ เช่นไม่ทาสีใต้ขอบ หรือเหนือขอบประตู เป็นต้น ฉันใดก็ตาม ในการก่อสร้างโดยทั่วไป เจ้าของงาน หรือ ผู้ควบคุมงานถ้าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดละก้อ จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่างทำงานให้เราได้ดี เพียงใด ผู้รับเหมาหรือช่างที่ขาดคุณธรรม หรือความรู้พื้นฐานทางช่าง มักจะทำให้เกิดปัญหาที่ต้องกลับมาแก้ไขอยู่เสมอ ผมขอยกตัวอย่างบางประเด็นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้นในตอนนี้ ขอเสนองานเสาเข็ม เนื่องจากเป็นจุดแรกของการก่อสร้าง และเป็นส่วนสำคัญมาก สำหรับงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็ม และมีการเขียนถึงเรื่องนี้ มากมาย เสาเข็มคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นงานที่มีความซับซ้อนไม่น้อย แต่ผู้ที่ทำการตอก หรือ ก่อสร้างเสาเข็มส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความรู้ในเรื่องความสำคัญของเสาเข็มแล้ว ยังทำงานโดยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลงานส่วนนี้ อย่างดีเท่าที่สามาถทำได้ โดยทั่วไปเสาเข็ม มีขนาด และวิธีการผลิต และกรรมวิธีในการตอกลงดินที่แตกต่างกันมาก ผมจะขอจำแนก เป็น 3 ขนาด ดังนี้ คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อใช้งานสำหรับการใช้งาน และการรับน้ำหนักของอาคารที่มีขนาดแตกต่างกันเสาเข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งเสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 -10 เมตร ซึ่งเสาเข็มสั้นนั้นมีปัญหาน้อย เช่นเสาเข็มไม้มักมีขสาดหน้าตัด หัวท้ายไม่เท่ากัน …

Continue Reading

Selecting the Right type of Cement to use

ผู้ที่เรียนวิชาช่างก่อสร้าง วิศวกร และสถาปนิกส่วนใหญ่จะทราบดีว่า ซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) หรือ ซีเมนต์ที่ใช้เป็นส่วนผสมสำคัญของคอนกรีต นั้นมีอยู่ถึง 5 ประเภท คือ ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 (Portland Cement Type 1 ) สำหรับใช้งานทั่วไป ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 2 (Portland Cement Type 2 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ทนทานต่อสาร ซัลเฟตปานกลาง ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 3 (Portland Cement Type 3 ) สำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการให้เร่งกำลังรับน้ำหนักเร็วขึ้น ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 4 (Portland Cement Type 4 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ความร้อนต่ำในขณะที่อยู่ในช่วงการเกิดปฏิกิริยาแข็งและบ่มตัว (Hydration) ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 5 (Portland Cement Type 5 ) สำหรับงานที่ต้องการให้ทนต่อสารซัลเฟตที่มีปริมาณสูง …

Continue Reading

Why Do We Use Concrete More than Steel

Blog ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนเรื่อง ประโยชน์และคุณสมบัติเฉพาะตัวของ คอนกรีต และเหล็กตามลำดับ เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด เป็นส่วนผสม ซึ่งไม่มีความแข็งแรง หรือ ทนทานได้เท่าเทียมกับเหล็กเลย แถมยังเปราะแตกหักได้ง่ายอีกต่างหาก แต่เหตุไฉน เราจึงใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากกว่าเหล็กและมากขึ้นทุกวัน นั่นเป็นเพราะว่า 1.ราคา คอนกรีต เป็นวัสดุที่วิศวกรนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างเนื่องจากราคาถูกที่สุด วัสดุส่วนผสม ไม่ว่าจะเป็น หิน ทราย หรือ น้ำ ต่างก็หาได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้  และราคาไม่แพง ขึ้นกับภูมิประเทศของโครงการที่ตั้งอยู่ และความมีพร้อมของวัสดุ 2. ความแข็งแรงทนทาน คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดุอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ จากคอนกรีต เป็นต้น  นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม …

Continue Reading

Steel for construction

ในการก่อสร้างใดๆ ย่อมจะมีเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับองต์ประกอบที่หลากหลาย เป็นที่ทราบกันดีว่าเหล็กสามารถรับน้ำหนักได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแรงกด แรงบิด แรงเฉือน หรือแรงดึง ต่างก็สามารถตอบสนองการใช้งานได้ทุกรูปแบบ และรับน้ำหนักได้มากกว่าคอนกรีตมากมายหลายเท่า สามารถปรับ ตัดแต่งรูปทรงได้ไม่มีขีดจำกัด   ในการใช้เหล็กสำหรับการก่อสร้างโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ ใช้เหล็กเสริมในคอนกรีต ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่อยู่2 ชนิดคือ 1. เหล็กเส้น (Reinforcement Bar) ในประเทศไทย ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย และเหล็กกลม ดังแสดงในรูปด้านล่าง   เหล็กข้ออ้อยจะมีมาตรฐานการผลิตที่ดีกว่า และสามารถรับน้ำหนัก หรือรับแรงได้ดีกว่าเหล็กกลม แต่อย่างไรก็ตามเหล็กกลมก็มีส่วนดี คือเหนียว ง่ายในการดัดจึงนิยมใช้สำหรับการนำมาทำเหล็กปลอกสำหรับยึดประกอบโครงเหล็กก่อนที่จะทำการหล่อคอนกรีต ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะเปราะกว่าในการดัดจึงสามารถดัดได้เพียงดัดฉาก มาตรฐานการใช้งานมีดังนี้ เหล็กกลม SR24 รับน้ำหนักได้ 2,400 กก/ตร.ซม เหล็กข้ออ้อย SD30 รับน้ำหนักได้ 3,000 กก/ตร.ซม เหล็กSD40 รับน้ำหนักได้ 4,000 กก/ตร.ซม 2.  เหล็กรูปพรรณ (Structural steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างได้โดยตรง เช่นโครงหลังคา และในปัจจุบันบ้านเราเริ่มนำเอาเหล็กรูปพรรณมาใช้ในการสร้างบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นคาน พื้น …

Continue Reading