Staircases II
- Tarkoon Suwansukhum
- April 9, 2013
- Wellness
- FENN DESIGNERS, Tarkoon Suwansukhum, บันไดและบันไดหนีไฟ
- 0 Comments
วันนี้เรามาดูในส่วนของบันได้ไม้ครับ บันไดที่สร้างด้วยไม้ มักเป็นบันไดที่ใช้กับบ้านพักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผิวสัมผัสกับไม้ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของวัสดุมาก โดยทั่วไปจะประกอบด้วย แม่บันได ขั้นบันได ราวกันตก และ มือจับ การสร้างมักทำให้สอดคล้องกับขนาดไม้ที่มีขายในท้องตลาดจึงทำให้บันไดจะต้องมีจุดต่อของแม่บันไดตรงกลางซึ่งเป็นชานพัก และเนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่สามารถผุกร่อนได้เมื่อพบกับความชื้น จึงต้องมีการใช้วัสดุอื่นเช่น คอนกรีตในส่วนของฐานรองรับแม่บันได เมื่อแม่บันไดนั้นต้องมาบรรจบกับส่วนที่เป็นน้ำหรือดิน
บันไดไม้มีข้อพิจารณาที่สำคัญในการออกแบบดังนี้
1. ขนาดบันได ขนาดไม้บันไดที่เป็นไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีขนาดดังนี้
กว้าง 150 มม หนา 25 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม
กว้าง 200 มม หนา 25 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม
กว้าง 250 มม หนา 35, 50 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม
กว้าง 300 มม หนา 35, 50 มม ยาว 1200, 1500, 1800, 2000 มม
ไม้กว้าง 150 มม เป็นไม้ที่นำมาทำลูกตั้งบันได ส่วนไม้หน้าใหญ่ขึ้นไปมักจะนำไปทำลูกนอนบันได เพื่อเป็นการประหยัดและใช้ไม้อย่างคุ้มค่า จึงควรพิจารณาออกแบบขั้นบันไดให้สอดคล้องกับขนาดของไม้ เช่น ลูกตั้งบันไดนำไม้ลูกตั้งมารวมกับลูกนอน แทนที่จะกำหนดระยะระหว่างชั้นก่อนที่จะนำมาแบ่งขั้นบันได
ตัวอย่างเช่น ลูกตั้งบันได 150 มม บวกกับความหนาไม้ขั้นบันได 35 มม เผื่อระยะของการตกแต่งไม้ 5-10 มม ดังนั้นลูกตั้งบันไดที่เหมาะกับหน้าไม้คือ 175 มม ส่วนลูกนอนบันได มักจะทำจมูกบันไดยื่นออกมา 25 มม เมื่อรวมกับความหนาไม้ลูกตั้ง เมื่อทำลูกนอน จำได้ความกว้างลูกนอนสุทธิเท่ากับ ความกว้างหน้าไม้ ลบ 50 มม เช่นใช้ไม้หน้ากว้าง 300 มม จะได้บันไดกว้าง 250 มม
2. การออกแบบบันไดไม้จะต้องพิจารณาถึงรูปแบบการติดตั้งแม่บันไดด้วย ส่วนใหญ่บันไดจะถูกออกแบบให้มีลูกนอนบันไดลูกแรกของบันไดขาขึ้นเยื้องกับบันไดขาลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้แม่บันไดและราวบันไดจบเสมอพอดีกัน ถ้าทำขั้นบันไดเริ่มที่จุดเดียวกัน จะทำให้แม่บันไดบางรูปแบบยื่นเข้ามาในบริเวณชานพักบันได และ ราวบันไดสูงไม่ต่อเนื่องกัน
3. บันไดไม้ไม่สามารถใช้ได้กับอาคารที่สูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปเนื่องจากกฎหมายอาคารกำหนดให้ใช้วัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ
4. ราวบันได ทั่วไปจะทำความสูงที่ประมาณ 900 มม ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสำหรับมือจับบันได ในบางอาคารที่เป็นช่องเปิดโล่งตรงกลาง อาจพิจารณาทำราวบันไดให้สูงขึ้นอีก เพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น ราวกันตกสำหรับช่องบันไดอาจทำสูงได้ถึง 1100 มม เพื่อช่วยกันตกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ลูกกรงราวกันตก ควรมีการพิจารณาถึงผู้ใช้อาคารด้วย ถ้ามีเด็กเล็ก การทำลูกกรงราวกันตกควรทำให้มีช่องห่างไม่เกิน 100 มม และมีรูปแบบที่เด็กไม่สามารถปีนขึ้นไปได้อันอาจทำให้เด็กตกลงมายังชั้นล่าง
6. รูปแบบของการติดตั้งแม่บันไดกับขั้นบันได บันไดที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยใต้บันได อาจจะต้องพิจารณาถึงรูปแบบการวางขั้นบันไดลงบนแม่บันได การทำบันไดไม้สามารถทำได้หลากหลายแบบ แต่ที่อยากให้พิจารณามีสองรูปแบบคือ แบบแรกวางขั้นบันไดระหว่างแม่บันไดที่มีความหนารวมของบันไดน้อย และ แบบที่สองวางขั้นบันไดบนแม่บันไดที่จะมีความหนารวมของบันไดมากกว่า
Related Posts
- Sheetal Chailertborisuth
- March 28, 2013
Gym Equipment, and History?
I am a gym enthusiast. I’ve always gone to the gym, done my little bit of exercise, use the ..
- Sheetal Chailertborisuth
- June 10, 2013
Greening our Interiors
Living in the city, I always look forward to visiting beaches and parks especially on the weeke ..