Construction Site without Supervisor Part 3: Super structures

Blog ฉบับนี้ ต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานหล่อคอนกรีตส่วนเหนือฐานราก หรือส่วนเหนือดิน ประกอบด้วยตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่ ส่วนพื้นสำเร็จรูปจะมีการก่อสร้างอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะได้นำเสนอภายหลัง
ขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้ได้ตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่นั้น มีขบวนการโดยย่อดังนี้

จะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนการทำงานกว่าจะได้ส่วนของโครงสร้างคอนกรีตแต่ละส่วน ต้องผ่านขนวนการหลายขั้นตอน ที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ ชิ้นงานคอนกรีตออกมาถูกต้อง ทั้งในส่วนของการออกแบบและสอดคล้องกับงานส่วนอื่นๆ ของอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานส่วนสถาปัตยกรรม หรือที่ทราบกันดี คือ ส่วนผนังของอาคาร หากทำการก่อสร้าง ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องก็มักจะมีผลตามมา มากน้อยตามความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขนาดของห้องเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น สุขภัณฑ์ ใส่ไม่ได้ลงตัว เป็นต้น

คำถาม คือ จะทำการตรวจสอบอย่างไร ? หากเจ้าของอาคาร หรือโครงการใหญ่ มีวิศวกร หรือสถาปนิก หรือผู้มีความรู้ด้านการก่อสร้างก็คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนัก แต่หากเป็นโครงการหรืออาคารขนาดเล็กไม่มีบุคลากรดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือดูแลการก่อสร้างให้ ก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง หรืออาศัยความเชื่อถือผู้รับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาบางคนทำการก่อสร้างให้อย่างดี ก็ดีไป บางรายก็อาจจะไม่ค่อยมีความรู้ทางเทคนิดมากมายนัก เนื่องจากถูกฝึกสอนมาหรือมีประสบการณ์มาอย่างไร ดังนั้นผมแนะนำให้อ่าน blog นี้ ต่อไปอีกสักนิด ผมหวังว่าคงช่วยท่านได้บ้าง ถ้าจะต้องควบคุมการก่อสร้างเอง
เมื่อผู้รับเหมาทำการติดตั้งไม้แบบเพื่อเป็นแบบหล่อแล้ว สังเกตุดูว่ามีการยึดไม้แบบแน่นหนาดีหรือเปล่า ซึ่งก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา ที่จะต้องทำแบบให้ถูกต้อง
ถึงขั้นตอนที่ผู้รับเหมาทำการผูกเหล็ก สังเกตุดูว่าเหล็กสะอาด ใม่มีสนิม เหล็กปลอกเรียงได้ระยะสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนของเหล็กติดไม้แบบ ซึ่งถ้าผู้รับเหมาที่ดี เขาจะทำการหล่อลูกปูน (Concrete spacer) กั้นระหว่างผิวไม้แบบและปลอกเหล็ก ทำให้เมื่อถอดแบบออกมาแล้วเหล็กเสริมจะมีระยะหุ้มคอนกรีตอย่างเหมาะสม ซึ่งลูกปูนมีหลากหลายชนิดมาก บ้านเราส่วนใหญ่ผู้รับเหมามักจะหลอ่ขึ้นมาเอง ทั้งเป็นเหลี่ยม หรือกลม ดังรูปแรกด้านล่าง ซึ่งก็ใช้ได้ดีทีเดียว

ก่อนการเทคอนกรีต สังเกตุดูสักนิดว่า ไม่มีเศษไม้ เศษลวดผูกเหล็ก ตกหล่นเหลืออยู่ในไม้แบบ และควรให้ผู้รับเหมาราดน้ำในแบบหล่อคอนกรีต ก่อนๆการเทคอนกรีต สักเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ไม้แบบดูดน้ำออกจากคอนกรีต ลองสังเกตุดูเพิ่มเติม ว่าแบบไม่มีรูโบว่ใหญ่ หากเทคอนกรีตแล้วคอนกรีตไหลหนี

 

 

ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายคือ ในการเทคอนกรีตจะต้องทำการเขย่าหรือจี้คอนกรีต เพื่อเขย่าให้คอนกรีตแทรกตัวเต็มในแบบหล่อ และไล่อากาศออกจากคอนกรีต โดยใช้เครื่องเขย่าคอนกรีต ( Vibrator) ไม่ว่าจะเป็นแบบไฟฟ้า หรือแบบเครื่องยนต์ บ่อยครั้งถ้าไม่มีเครื่องจี้ หรือเครื่องเขย่า คอนกรีตที่หล่อเสร็จมักจะมีคุณภาพไม่ค่อยดี หรือไม่ดีเอามากๆ ต้องถึงกลับทุบทิ้งแล้วหล่อใหม่ ดังนั้น เครื่องเขย่าคอนกรีต จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดหากไม่มีเครื่องเขย่าคอนกรีตผู้รับเหมาต้องกระทุ้งคอนกรีตขณะที่เทใหม่ๆด้วยเหล็ก ขนาดเหมาะมือ แต่ต้องพยายามให้กระทุ้งมากหน่อยเพื่อให้เนื้อคอนกรีตแทรกไปตามซอกมุมในแบบหล่อ

เมื่อผู้รับเหมาทำการถอดแบบหล่อภายหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ส่วนที่เป็นคาน และพื้นสามารถถอดแบบข้างได้ในวันถัดจากวันที่หล่อคอนกรีต แต่ไม้ค้ำ (ตุ๊กตาค้ำยัน) ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน อาจจะทิ้งไม้ค้ำยันในส่วนกลางคาน และพื้นไว้ต่อเนื่องอีกสัก 7 วันอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจว่า คอนกรีตส่วนนี้แข็งแรงเพียงพอ ส่วนเสา ควรให้ถอดแบบได้ อย่างน้อย 3 วันนับจากเทคอนกรีต
ที่สำคัญที่ควรจะต้องคอยดูแลคือ หมั่นตรวจดูผู้รับเหมาจะต้องทำการบ่มคอนกรีตทันทีที่ถอดแบบหล่อออก การบ่มคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ซึ่งการบ่มคอนกรีตทำได้หลายวิธี พอสังเขปดังนี้
ง่ายที่สุดคือ ทำการขังน้ำ หรือราดน้ำโดยตรงที่ผิวคอนกรีตที่เพิ่งถอดแบบออก หรือเมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัว (ประมาณ 1 ชมหลังจากเทคอนกรีต) หากต้องราดน้ำต้องคอยราดน้ำตลอดเวลา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน
ใช้กระสอบป่านชุบน้ำหุ้มผิวคอนกรีตทั้งหมด และต้องหมั่นรดน้ำอยู่เสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน
ใช้แผ่นพลาสติกหุ้มรอบผิวตอนกรีต
ทำการราดด้วยสารเคมีบ่มคอนกรีต ประเภทส่วนผสม Latex