Construction Site without Supervisor Part 1

ผมเคยเขียน blog เมื่อนานมาแล้ว ส่วนที่เรามองไม่เห็น ผู้รับเหมามักจะมองข้ามไม่ทำให้ เช่นไม่ทาสีใต้ขอบ หรือเหนือขอบประตู เป็นต้น ฉันใดก็ตาม ในการก่อสร้างโดยทั่วไป เจ้าของงาน หรือ ผู้ควบคุมงานถ้าไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดละก้อ จะไม่สามารถทราบได้เลยว่า ช่างทำงานให้เราได้ดี เพียงใด ผู้รับเหมาหรือช่างที่ขาดคุณธรรม หรือความรู้พื้นฐานทางช่าง มักจะทำให้เกิดปัญหาที่ต้องกลับมาแก้ไขอยู่เสมอ ผมขอยกตัวอย่างบางประเด็นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้น
ในตอนนี้ ขอเสนองานเสาเข็ม เนื่องจากเป็นจุดแรกของการก่อสร้าง และเป็นส่วนสำคัญมาก สำหรับงานก่อสร้างที่มีความจำเป็นต้องใช้เสาเข็ม และมีการเขียนถึงเรื่องนี้ มากมาย เสาเข็มคือส่วนที่สำคัญมากสำหรับอาคาร ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นงานที่มีความซับซ้อนไม่น้อย แต่ผู้ที่ทำการตอก หรือ ก่อสร้างเสาเข็มส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความรู้ในเรื่องความสำคัญของเสาเข็มแล้ว ยังทำงานโดยไม่ค่อยเห็นความสำคัญของงานส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดูแลงานส่วนนี้ อย่างดีเท่าที่สามาถทำได้

โดยทั่วไปเสาเข็ม มีขนาด และวิธีการผลิต และกรรมวิธีในการตอกลงดินที่แตกต่างกันมาก ผมจะขอจำแนก เป็น 3 ขนาด ดังนี้ คือ ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เพื่อใช้งานสำหรับการใช้งาน และการรับน้ำหนักของอาคารที่มีขนาดแตกต่างกัน
เสาเข็มขนาดเล็ก ซึ่งมีทั้งเสาเข็มไม้ และเสาเข็มคอนกรีต มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 -10 เมตร ซึ่งเสาเข็มสั้นนั้นมีปัญหาน้อย เช่นเสาเข็มไม้มักมีขสาดหน้าตัด หัวท้ายไม่เท่ากัน เสาคอนกรีต ที่มีรอยร้ายเนื่องจากการผลิด และการขนส่งและระหว่างการตอกเสาเข็ม เนื่องจากว่า เวลาตอกเข็มลงไปเข็มจะยังคงอยู่ที่ชั้นดินอ่อน และอีกอย่างเนื่องจากมีขนาดเล็กก็ควบคุมการตอกได้ง่ายด้วย ถึงแม้นไม่มีคนดูแลก็ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แน่นอนดีที่สุดก็คือการควบคุมดูแล

เสาเข็มขนาดกลาง ส่วนใหญ่จะใช้ในการก่อสร้างอาคารสูงประมาณ 4-5 ชั้น ซึ่งมีความยาว ตั้งแต่ 10.5 เมตร ถึง 23 เมตร เนื่องจากการขนส่ง เสาเข็มโดยทั่วไปจึงต้องมีการต่อเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มยาวจนถึงชั้นดินแข็ง ซึ่งอยู่ที่ระดับจากผิวดินตั้งแต่ ประมาณ 17 – 23 เมตร ซึ่งเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าส่วนต่อเสาเข็มได้รับการเชื่อมต่อนั้นดีเพียงพอ และเขาตอกเสาเข็มไปจนถึงระดับชั้นดินแข็งจริงแท้แค่ไหน หรือ ถ้าเสาเข็มแตกร้าวในระหว่างการตอกเขาก็ยังตอกเสานั้นลงไปใต้ดิน เราก็ไม่สามารถทราบได้เลย ถ้าตอกเสาเอียง หรือหนีศูนย์กลางก็เป็นเรื่องที่ต้องกลับมาแก้ไขในภายหลัง ถ้าไม่มีคนคอยควบคุม ดังนั้นเสาเข็มขนาดนี้ จะนิ่งนอนใจไม่ได้ต้องคอยเฝ้าดู ทั้งตำแหน่งที่จะตอกเข็ม การตั้งเสาเข็มให้ได้ดิ่ง การเชื่อมต่อระหว่างเสาเข็ม การแตกร้าวของเสาเข็มทั้งก่อนการตอก และในเวลาตอก และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการนับการตอก(Blow count) จำนวน 10 ครั้งสุดท้ายเสาเข็มจมลงเท่าไหร่ ซึ่งกำหนดโดยวิศวกร

 

เสาเข็มขนาดกลางอีกประเภทหนึ่งคือ งานเสาเข็มเจาะ คือเจาะเอาดินภายในหลุมเสาออก แล้วจึงเทคอนกรีต และใส่เหล็กเสริม เมื่อตกลงที่จะทำการเจาะทำเสาเข็มที่ความลึก 20 เมตร ถ้าเขาเจาะลึกลงไปเพียง 18 เมตร เราจะรู้ได้อย่างไร ถ้าทำการเทคอนกรีตโดยการปล่อยให้คอนกรีตตกร่วงลงไป(free fall) โดยไม่ใช้กรวย ซึ่งเป็นผลทำให้วัสดุส่วนผสมของคอนกรีตแยกกัน  หรือ เทคอนกรีตเหลวเกินไปเราก็ไม่ทราบได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือคอนกรีตสามารถรับน้ำหนักได้น้อย  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่จะต้องแก้ไขตามมาอีกมากมาย เช่นรับน้ำหนักไม่ได้ อาคารทรุด เป็นต้น ต้องคอยควบคุมดูแลมากขึ้น

 

เสาเข็มขนาดใหญ่ โดยปรกติเสาเข็มชนดนี้จะมีการควบคุมการทำงานอย่างดีหลายขั้นตอน ดังนั้นความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งเสาเข็มชนิดนี้ ใช้เพื่อการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่นสนามบิน รถไฟฟ้า สะพานขนาดใหญ่ ตึกระฟ้าเป็นต้น