The Dangers of Road Constructions

เมื่อช่วงวันหยุดสงกรานต์ ที่ผ่านมาผมได้เดินทางออกจากบ้านไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ขับรถวิ่งผ่านไปตามถนน ร่มเกล้า ถนนสายนี้ คือส่วนหนึ่งของคันกั้นน้ำตามโครงการพระราชดำริ (King’s Dike) คือมีค่าระดับความสูงของถนน เทียบเท่ากับ + 2.5  เมตร จากค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (MHL)  แต่เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี พศ 2554 ช่วงเดือน ตค ถึง ธค ถึงแม้นว่า ระดับน้ำที่ท่วมสูงสุด ยังไม่สามารถขึ้นมาถึงระดับ + 2.5 เมตร ก็ตาม ทางการก็ได้ทำการติดตั้งแท่งคอนกรีตตรงกลางถนน จากถนนสายไหมมาสิ้นสุดที่ปลายถนนร่มเกล้า ใครนะช่างคิดผลาญเงินภาษีของเราท่านได้แยบยลอย่างน่าเสียดาย  ว่าการทำอย่างนี้ จะกันน้ำได้ เท่ากับเอาเงินไปเรียงทิ้งเอาไว้ ที่ยังไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์อันใดนอกจากการขีดเส้นเน้นชัดว่า พื้นที่อีกฝั่งของแท่งคอนกรีตคือพื้นที่น้ำท่วมได้ และพื้นที่ฝั่งตรงกันข้ามก็จะปั๊มน้ำเข้าไปในพื้นที่น้ำไท่วมได้นั้น เงินจำนวนที่ทางการทำการวางแท่งคอนกรีตนี้ มีจำนวนถึง  300 ล้านบาท ตัวเลขกลมๆ เงินจำนวนนี้สามารถสร้างสรรสิ่งที่ดีมีประโยช์นอย่างอื่นได้อีกมากนัก ที่ประเทศนี้ต้องการ แต่นั่นไม่ใช้ ประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้  ความจริงตั้งใจจะเขียนเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ บนท้องถนนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง มาตรการการเตือนและการป้องกันเพื่อให้ผู้ที่สัญจรไปมา ตลอดเวลาจะได้รับความเดือดร้อน และอุปสรรคในการขับขี่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาค่ำคืน ดังนั้นผมจึงถือเอาการก่อสร้างแท่งคอนกรีตกันน้ำ เป็นกรณีศึกษา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ที่หน่วยงานภาครัฐ ปล่อยให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างอย่างหละหลวม โดยไม่มีการป้องกันแต่อย่างใด ดูภาพประกอบด้านล่าง …

Continue Reading