The Construction Site without Supervisor Part 4 : Roof Deck

Blog ฉบับนี้ ขอกล่าวถึงเรื่องการก่อสร้างหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเรียกว่าดาดฟ้า หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าตามมาตรฐานสากลหลายฉบับรวมทั้งมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้กำหนดว่าอย่างน้อยความหนาของพื้นคอนกรีตหลังคาต้องหนาไม่น้อยกว่า 12 ซม ก๊ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้
การหล่อคอนกรีตหนาขนาดนี้ อย่างน้อยพื้นคอนกรีตก็ไม่ตกท้องช้าง เป็นเหตุให้เวลาฝนตกลงมาน้ำขังเจิ่งนองบนผิวบนคอนกรีต พอนานวันเข้าน้ำที่ขังอยู่ก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อคอนกรีตตามรอยโพร่ง ซึ่งธรรมชาติของคอนกรีตจะมีลักษณะเป็นโพรง (Porous properties) เมื่อปริมาณน้ำซึมผ่านเข้าไปในเนื้อคอนกรีตมาก และซึมลงสู่ผิวเหล็กเสริม หากก๊าซออกซิเจนเข้าไปร่วมด้วย คราวนี้ก็เกิดปฎิบัติการร่วมด้วยช่วยกัน ความชื้น รวมกับ เหล็ก และอากาศออกซิเจน ก็จะเกิดสนิมในเหล็ก จึงมักเห็นพื้นดาดฟ้าเกิดรอยสนิมของเหล็ก อยู่เสมอหลายครั้ง

 

 

การที่คอนกรีตหนา ก็จะช่วยป้องกันความร้อนที่แผ่ลงมาโดยตรงจากแสงอาทิตย์ แต่อย่างไรก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องจากความร้อนสามารถแผ่ความร้อนจากบนดาดฟ้าลงสู่ห้องข้างใต้ดาดฟ้าได้อยู่ดี หากมีการถ่ายเทความร้อนภายในห้องอย่างเหมาะสมพื้นหนาๆ ของดาดฟ้าก็จะป้องกันความร้อนได้อย่างดี
การป้องกันไฟดีขึ้น คอนกรีตเสริมเหล็กมีคุณสมบัติเป็นโครงสร้างทนไฟที่ดีอยู่แล้ว การที่พื้นหนาขึ้น การป้องกันไฟ ก็จะมีมากขึ้น
ดังนั้น หากบ้านท่านสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและมีดาดฟ้า ต้องแน่ใจว่าผู้รับเหมาเทคอนกรีตดาดฟ้าหนาอย่างน้อย 12 ซม
อีกประการสำคัญประการหนึ่งที่ควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ตรวจสอบดูในระหว่างการก่อสร้าง สอบถามผู้รับเหมาก่อนการเทคอนกรีตว่า จัดการกับระบบระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำรั่วซึมบนดาดฟ้าอย่างไร อย่างน้อยควรประกอบด้วย
1. พื้นคอนกรีตจะต้องมีความลาดเอียงไปสู่ช่องระบายน้ำ ( Roof drain) ความลาดเอียงอย่างน้อย 1:200 งงแล้วสิว่า 1:200 จะตรวจวัดได้อย่างไร? ในทางเทคนิดหมายถึง ในระยะ 200 เมตร ระดับลดลง 1 เมตร หรือระยะ 10 เมตร ระดับลดลง 5 ซม ถ้าจะดีลดลง 10 ซม ยิ่งดี น่าจะวัดได้ง่ายขึ้นแล้ว


2. ช่องระบายน้ำ (roof drain) ควรมีขนาดใหญ่ สำหรับท่อระบายน้ำขนาด ศก อย่างน้อย 3 นิ้ว พร้อมมีอุปกรณ์ช่องรับน้ำติดตั้ง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดูรูปด้านซ้ายด้านล่างประกอบ แต่ที่นิยมใช้มากก็เป็นรูประฆังคว่ำเพราะถึงแม้นมีใบไม้มาปิดก็ยังสามารถระบายน้ำออกทางด้านข้างช่องระบายน้ำนี้ได้

3. ส่วนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้นว่า ทำให้หลังคาลาดเอียงแล้ว เสริมเหล็กอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว อย่างไรเสียก็ต้องป้องกันอีกส่วนหนึ่งเพิ่มเติมนั่นคือการเสริมป้องกันด้วยวัตถุกันซึม โดยทำได้ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นสารเคมีผสมกับคอนกรีตในขณะเทคอนกรีต เป็นวิธีการที่ถูกหลักวิชา แต่ด้วยยังไม่มั่นใจอายุการทำงานของสารเคมีกันซึมดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงทำการป้องกันขั้นตอนที่สองเพิ่มเติม ด้วยวัสดุกันซึมบนผิวคอนกรีตอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งวัสดุปูผิวกันซึม มีมากมายหลายแบบ ทั้งเป็นแผ่นยางมะตอยสังเคราะห์(Bituminous Sheet) มาติดบนผิวคอนกรีต มีทั้งชนดมีกาวในตัว และลนไฟให้ผิวยางมะตอยเยิ้มออกมาติดผิวคอนกรีต (touch on) หรือ แบบสารพลาสติกสังเคราะห์เป็นแผ่นมาติด หรือชนิดของเหลวที่มีความยืดหยุ่นสูง(Polyurethane polymer) นำมาทาบนผิวคอนกรีต ซึ่งแต่ละชนิดต้องทำการติดตั้งให้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตจึงจะได้ผลดี

 

4. ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของหลังคาดาดฟ้านี้ คือ การป้องกันความร้อนโดยตรงสู่หลังคา ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้
          A.พื้นกันแดด (Solar slab) อาจจะเป็นแผ่นคอนกรีตที่อนุญาตให้ความร้อนไหลออก ไม่แผ่ความร้อนลงไปบนคอนกรีตชั้นดาดฟ้า หรือผ่านลงไม่มากนัก ดูรูปข้างล่างซ้ายมือ หรืออีกวิธีที่บ้านเรานิยมคือ เกลี่ยหินกรวดบนดาดฟ้า ตามรูปด้านขวามือ

        B. ทาสีสะท้อนความร้อน (Ceramics paint) ป้องกันแสงแดดและความร้อน ในตอนกลางวัน
       C. ทำหลังคาเบาๆคลุม อาจปลูกต้นไม้เลี้อย บนหลังคา (Roof cover or Trellis)

 

D. ปลูกต้นไม้ทำสวนหย่อม บนดาดฟ้า (Roof garden)