Toxic Materials in Thailand, the Case of Asbestos Geerati Tiasiri October 26, 2012 Wellness architecture, ASBESTOS, Design, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Planning, Residential, Structural Planning, Thailand, Toxic Materials 0 Comments แร่ใยหิน (asbestos) หลายคนก็คุ้นเคยและรู้จักอย่างดี แต่หลายคนก็อาจจะไม่รู้จักเลยว่าทำไมหินที่แข็งแกร่งมีใยหินด้วยหรือ แน่นอนบนความแข็งแกร่งก็ย่อมมีความอ่อนนุ่มแฝงอยู่เสมอในธรรมชาติโลกของเรานี้ลักษณะ ของแร่ใยหิน เป็นเยื้อไฟเบอร์ ดังในรูป แต่มีคุณสมบัติที่คงทนเนื่องจากเป็นหิน และพิเศษมากมาย กล่าวคือกันความร้อน และกันไฟ เช่น ใช้ถักทอเป็นเสื้อกันไฟสำหรับนักผจญเพลิง หรือใช้เป็นส่วนผสมในผ้าเบรคสำหรับยวดยานพาหนะ ท่อน้ำร้อนในโรงงาน แม้นกระทั่งในส่วนที่กันความร้อนในไดร์เป่าผม เตาไมโครเวฟ หรือ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นต้นวัสดุประสานเพิ่มความแข็งแรง เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีกำลังรับแรงดึงสูง และยืดหยุ่น เช่นใช้ในส่วนผสมกับซีเมนต์ แล้วนำมาทำขึ้นรูปเป็น ท่อระบายน้ำ หรือท่อน้ำประปา แผ่นกระเบื้องมุงหลังคาที่เรารู้จักมานานคือกระเบื้องลอนเล็ก ลอนคู่ เป็นต้น แผ่นกระเบื้องสำหรับทำฝ้าหรือเพดาน หรือส่วนผสมขึ้นรูปพลาสติกหลากหลายรูปแบบวัสดุฉนวนกันเสียง และกันไฟ เป็นสารผสมใช้ทำเป็นแผ่นวัสดุกันเสียง ใช้เป็นสารผสมฉีดพ่นหุ้มเหล็ก เพื่อให้สามารถกันเพลิงได้เป็นเวลานาน2-4 ชมเป็นสารไม่นำไฟฟ้า จึงใช้เป็นส่วนผสมของอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดทนกรด จึงเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่ว่าจะเป็นท่อ แบตเตรี หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่ใช้งานโดยตรงกับสารเคมีราคาย่อมเยาว์เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในวัสดุดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถจับจ่ายได้ ในโลกนี้ ได้รู้จักแร่ใยหินไม่น้อยกว่า 4,000 ปี และประเทศอังกฤษได้ใช้ประโยขน์จากแร่ใยหินอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงต้นปี คศ 1700 (พศ 2243) เป็นต้นมา สำหรับประเทศไทยได้นำเอาวัสดุใยหินเข้ามาใช้งานอย่างแพร่หลาย นับเป็นเวลาร่วม 60 ปีเมื่อประมาณปีคศ 1906 (พศ 2449) ได้มีรายงานฉบับแรกที่นำเสนอว่ามีผู้เสียชีวิตอันเป็นผลเนื่องมาจาก สารใยหินนี้ ได้มีการค้นพบว่ามีผู้เสียชีวิตหลายรายเนื่องจากความล้มเหลวของปอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ใยหิน ประเทศอังกฤษได้ออกข้อกำหนดจำกัดการใช้แร่ใยหินนี้ ในปีดศ 1930 (พศ 2473) และ10 ปีต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสหรัฐมีผู้เสียชีวิต ประมาณ 100,000 คน เนื่องจากสารใยหินนี้ เพราะใช้สารใยหินนี้ห่อหุ้มปล่องไฟ ปล่องกระสุนปืนใหญ่ และอาวุธอย่างอื่นอีกมากมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้รับสารแร่เข้าสู่ร่างกาย การใช้แร่ใยหินก็ยังมีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เพิ่งมีการยกเลิกและห้ามนำเอาสารใยหินนี้มาเป็นวัสดุผสมต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ปี คศ 1980 (พศ 2523) เป็นต้นมา จนกระทั้งในปีปัจจุบันหลายๆประเทศเริ่มประกาศยกเลิก เช่น ประเทศไต้หวัน จะยกเลิกการใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พศ 2556 ส่วนประเทศไทยได้มีดำริว่าจะยกเลิกการใช้สารแร่ดังกล่าวโดยกรมอนามัยกำหนดจะออกข้อกำหนดห้ามใช้แร่ใยหินในปีพศ 2555 อย่างไรก็ตามข้อกำหนดการห้ามใช้แร่ใยหินนี้ก็ยังไม่ได้คลอดออกมาอย่างเป็นทางการ การนำเข้าแร่ใยหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยก็ยังคงสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย และเป็นอันดับ 5 ในโลก ดังนั้นเมื่ออ่าน blog นี้ มาถึงตรงนี้ ขอให้ตระหนักเพื่อสุขภาพของท่านเองโปรดใช้วิจารณญาณ ในการเลือกใช้ ถ้าไม่มีฉลากเตือนไว้ กรุณาสอบถามจากผู้ขายหรือผู้ผลิตก่อนว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ท่านจะซื้อนั้นปลอดจากแร่ใยหินหรือเปล่า เนื่องจากผลกระทบขากแร่นี้ จะค่อยๆ เกิด บางรายส่งผลออกมาเมื่อได้รับสารแร่โดยตรงเป็นเวลาต่อเนื่องนับ 20 ปี Tags: architecture ASBESTOS Design FENN DESIGNERS Geerati Tiasiri Planning Residential Structural Planning Thailand Toxic Materials Related Posts Lydia Tiasiri October 5, 2012 WATCH OUT! (for signs) GO. STOP. RESTROOM. LIFT. STAIRS. etc …. These days we seems to be surrounded by signs, t .. Lydia Tiasiri February 28, 2013 Clear Creations This week’s article, we’re moving past the shell of a space, the floors and walls to the fu ..
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…