Construction Site without Supervisor Part 3: Super structures

Blog ฉบับนี้ ต่อเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับงานหล่อคอนกรีตส่วนเหนือฐานราก หรือส่วนเหนือดิน ประกอบด้วยตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่ ส่วนพื้นสำเร็จรูปจะมีการก่อสร้างอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะได้นำเสนอภายหลังขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้ได้ตอม่อ คาน เสา และพื้นหล่อกับที่นั้น มีขบวนการโดยย่อดังนี้ จะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนการทำงานกว่าจะได้ส่วนของโครงสร้างคอนกรีตแต่ละส่วน ต้องผ่านขนวนการหลายขั้นตอน ที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ ชิ้นงานคอนกรีตออกมาถูกต้อง ทั้งในส่วนของการออกแบบและสอดคล้องกับงานส่วนอื่นๆ ของอาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานส่วนสถาปัตยกรรม หรือที่ทราบกันดี คือ ส่วนผนังของอาคาร หากทำการก่อสร้าง ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องก็มักจะมีผลตามมา มากน้อยตามความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ขนาดของห้องเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น สุขภัณฑ์ ใส่ไม่ได้ลงตัว เป็นต้น คำถาม คือ จะทำการตรวจสอบอย่างไร ? หากเจ้าของอาคาร หรือโครงการใหญ่ มีวิศวกร หรือสถาปนิก หรือผู้มีความรู้ด้านการก่อสร้างก็คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากนัก แต่หากเป็นโครงการหรืออาคารขนาดเล็กไม่มีบุคลากรดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือดูแลการก่อสร้างให้ ก็ต้องช่วยเหลือตัวเอง หรืออาศัยความเชื่อถือผู้รับเหมา ซึ่งผู้รับเหมาบางคนทำการก่อสร้างให้อย่างดี ก็ดีไป บางรายก็อาจจะไม่ค่อยมีความรู้ทางเทคนิดมากมายนัก เนื่องจากถูกฝึกสอนมาหรือมีประสบการณ์มาอย่างไร ดังนั้นผมแนะนำให้อ่าน blog นี้ ต่อไปอีกสักนิด ผมหวังว่าคงช่วยท่านได้บ้าง ถ้าจะต้องควบคุมการก่อสร้างเองเมื่อผู้รับเหมาทำการติดตั้งไม้แบบเพื่อเป็นแบบหล่อแล้ว สังเกตุดูว่ามีการยึดไม้แบบแน่นหนาดีหรือเปล่า ซึ่งก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รับเหมา ที่จะต้องทำแบบให้ถูกต้องถึงขั้นตอนที่ผู้รับเหมาทำการผูกเหล็ก …

Continue Reading

Construction Site without Supervisor Part 2

Blog ที่ผมเขียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับเสาเข็ม วันนี้ จะพูดถึงเรื่องการฐานราก (Footing) ซึ่งก็เป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งของการรับน้ำหนักและความมั่นคงของอาคาร เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของอาคารทั้งหมดลงสู่พื้นดินทั้งโดยตรง หรือส่งผ่านเสาเข็มสู่ดิน ในการก่อสร้างฐานราก ไม่ว่าจะเป็นฐานรากที่วางบนชั้นดินแช็งไม่ต้องการเสาเข็ม (Footing on ground) เช่น ที่ระยอง เกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ และอิสาน หรือเป็นดินอ่อนอย่างในกรุงเทพ และปริมณฑล ที่ฐานรากจะต้องนั่งบนเสาเข็ม (Footing on Pile) งานก่อสร้างฐานรากที่ดี อย่างน้อยควรเททรายหยาบรองพื้น ( Sand bedding) ประมาณ 10 ซม และเทคอนกรีตหยาบ (Lean concrete) อีก 5 ซม บนทรายหยาบก่อนการตั้งแบบหล่อฐานราก ช่างหลายคนก็ไม่ทำ ด้วยเหตุผลส่วนตัว โดยเฉพาะไม่มีผู้ควบคุมงาน ช่างก็ถือโอกาศไม่ทำเอาซะเลย การรองพื้นฐานรากด้วยทรายหยาบ และคอนกรีตหยาบ มีประโยชน์หลายประการ ประการแรกทรายหยาบจะช่วยปรับระดับดินเดิมในอยู่ในระนาบ ทำหน้าที่คอยดูดซับแรงกระทำจากอาคารสู่พื้นดิน และเป็นตัวกลางกั้นระหว่างดินที่อาจจะมีสารบางอย่างที่เป็นภัยแก่คอนกรีตฐานราก นอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เลอะเทะมาก ส่วนคอนกรีตหยาบ จะทำหน้าที่เป็นฐานรองรับแก่ฐานรากให้ฐานรากมีความมั่นคงขึ้น และเป็นตัวกันไม่ไห้เนื้อซีเมนต์ที่อยู่ในส่วนผสมของคอนกรีตไหลหนีซึมหายไปในพื้นดิน อย่างไรก็ตามถ้าบริเวณที่ก่อสร้างเป็นที่ลาดเอียง และดินเดิมเป็นดินเหนียวปนทราย หรือ ดินเหนียวปนซิลด์ เมื่อมีน้ำใต้ดินสูง อาจทำให้ฐานรากที่นั่งบนดินประเภทดังกล่าว สไลด์หนีออกไปได้เป็นเหตุให้ อาคารทรุด …

Continue Reading