การออกแบบบันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้

  1. กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง)
  2. กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร)
  3. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544
  4. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
  5. กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548
  6. ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544

 

 

 

 

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ  และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้

  1. บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร
  2. บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร

องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้

 

 

 

 

 

บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร

  1. ผนังทึบ ทนไฟ
  2. ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก  เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
  3. บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
  4. ชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
  5. ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
  6. ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิกาด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
  7. บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องจัดให้มีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ โดยให้มีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร
  8. ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจะต้องไม่เกิน 100 มม
  9. ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรงต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
  10. ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุดและชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
  11. ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร

 

บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูง

  1. ผนังทึบ ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า  2 ชั่วโมง
  2. ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง 2000 มม พร้อมอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิท บานประตูเปิดเข้าสู่ตัวบันได ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้าออก เพื่อหนีไฟสู่ภายนอกของอาคาร
  3. บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 900 มม และไม่เกิน 1500 มม
  4. ชานพักบันได ระหว่างประตู กับ บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1500 มม และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได
  5. ชานพักบันไดกว้างไม่น้อยกว่า ความกว้างของบันได
  6. ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 220 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 200มม กรณีที่จะใช้บันไดนี้เป็นบันไดหลักสำหรับผู้พิการด้วย ต้องออกแบบ ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 280 มม ลูกตั้งสูงไม่เกิน 150 มม
  7. บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องจัดให้มีระบบอัดลมภายในบันได ที่มีผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีช่องเปิดทุกชั้น เพื่อช่วยระบายอากาศ
  8. ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 900 มม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มม เมื่อติดที่ผนังส่วนที่ยื่นออกมา จะต้องไม่เกิน 100 มม
  9. ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1100 มม ช่องเปิดของซี่ลูกกรง ต้องมีขนาดที่ไม่สามารถให้ วัตถุทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มม ลอดได้
  10. ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ระบุชั้นล่างสุด และชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ และบอกทิศทางปล่อยออก
  11. ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ คำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร

Leave A Comment