Concrete for construction

เป็นที่ทราบดีว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นส่วนผสมจากจากวัสดุธรรมชาติ หลักๆเพียง 4 ชนิด คือ ปูนซีเมนต์ ทราย หินบด หรือกรวด และน้ำสะอาด ก็สามารถหล่อให้เป็นรูปทรงต่างๆได้มากมาย จากส่วนเล็กๆ เช่นทางเดิน ไปจนถึงตึกระฟ้า และวิวัฒนาการการใช้คอนกรีตก็เพิ่มมากขึ้น เทียบเท่ากับความสูงของตึกที่นับวันจะสูงขึ้นๆ  เราใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากขึ้นทุกวัน  ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามสถิติ ประชากรโลกได้ใช้คอนกรีต เป็นจำนวนประมาณถึง 11,000 ล้านเมตริกตัน ในงานก่อสร้างต่างๆ ทั้งนี้ ก็ด้วยเหตุผลดังนี้ 1. คอนกรีต เป็นวัสดุที่ทนทานต่อน้ำอย่างเป็นเลิศ ซึ่งวัสดอื่นไม่สามารถต้านทานน้ำได้เหมือน ดังเช่น ไม้ หรือ โลหะทั่วๆไป คอนกรีตเปือยจึงใช้ในการก่อสร้าง เขื่อน ฝาย ดาดคลองระบายน้ำ กำแพงกันดิน และ ถนน เป็นต้น ที่เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ทำการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ ฝายกั้นน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และอีกมากมายจากคอนกรีต นอกจากนั้น ส่วนประกอบต่างๆของอาคารเช่น เสาเข็ม ฐานราก พื้น คาน เสา ผนัง ดาดฟ้าส่วนที่สัมผัสน้ำ …

Continue Reading

Nothing to waste!

Year after year, new building standards and adoption of eco-friendly materials have been at a rise. Construction has been shifting to more sustainable methods and materials; even the waste during construction is recycled by separating the debris for potentially recoverable materials. An approximate 3600 kg of waste is disposed into landfills during construction of a 185 sq.m. home.  People are …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading

การออกแบบบันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531 กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544         จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ  และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้       …

Continue Reading

Understanding Floor area Ratio (FAR)

Floor area ratio means the ratio between the total building area and land plot area. City planning laws were enforcement as the Town and City Planning Act since year 1975 (2518BE). Bangkok area had implemented City Planning law under Ministerial regulation Act no 116 . The  first law came year 1992. The laws  are revised and revamped every 5 years. …

Continue Reading

Impact from new Bangkok Metropolitan Administration (BMA) Land Use

Since we had first BMA land use implemented in year 1992 until today, the law has been controlled use of land and size of building with public road width. BMA land use has split use of land to major activity, minor activity and prohibits activity. Building use that match to major activity has no control of public road width under …

Continue Reading

Are Tac Tiles leading the blind to danger?

คงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่เคยเดินบนทางเท้า หรือ บาทวิถี หรือฟุตบาท ในที่ๆแตกต่างกันไป แต่จะมีสักกี่คนที่เคยสังเกตุว่า บนทางเท้านั้นมีลวยลายอะไรอยู่บนนั้นบ้าง และนอกเหนือจากลวยลายบนทางเท้าแล้วยังมีการวางกระเบื้องปูพื้นอีกชนิดหนึ่งบนนั้นคือ กระเบื้อง Tac tiles หลายคนคงสงสัยว่า  Tac Tiles หมายถึงอะไร หรือไม่เคยสังเกตุเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความเร่งรีบ ในแต่ละวัน หรือ เป็นเรื่องไกลตัว Tac tiles คือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับนำทางคนตาบอดนั่นเอง ที่เราเห็นบนทางเท้าในกทม หรือ เทศบาลในจังหวัดต่างๆ ที่ใช้กระเบื้องชนิดนี้ปูบนทางเท้า ซึ่งโดยมาตรฐานของ กระเบื้องปูพื้นชนิดนี้ คือ จะมีรอยนูนด้านบน เป็น 2 รอย คือ รอยยาวในแนวนอน และเป็นรอยกลม ซึ่งการใช้งานของกระเบื้อง 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ กระเบื้องรอยในแนวนอนสำหรับปูทางเดิน เพื่อเป็นรอยทางให้คนตาบอดได้เดินไปในทิศทางนั้น หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องนำทาง และเมื่อเดินไปสะดุดเอากระเบื้องซึ่งเป็นรอยกลม ที่ได้ปูไว้สำหรับเป็นจุดเตือนให้หยุดเคลื่อนที่ชั่วขณะ และต้องพิจารณาต่อไปว่าจะไปทางไหนได้จากจุดนั้น กล่าวคือ จะต้องเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวา หรือหยุดรอเพื่อข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นจุดประสงค์ ของการปูกระเบื้องชนิดนี้บนทางเท้า ก็เพื่อความปลอดภัยให้คนตาบอดได้เดินไปโดยเฉพาะ ตัวอย่างการปูกระเบื้องชนิดนี้ …

Continue Reading

Simply put: Building Inspection _ สรุปการตรวจสอบอาคาร

ตามที่ผมได้เขียนไว้ใน blog ต่อเนื่องนับเป็นอาทิตย์ที่ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อกำหนดทางกฏหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ธํนวาคม พศ 2548 พร้อมกำหนดประเภทของอาคารที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดในกฏกระทรวง ที่จะต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยในการใช้อาคาร กล่าวโดยสังเขปประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ 9 ประเภท คือ อาคารที่มีขนาดใหญ่ อาคารสูงเกิน 23 เมตร อาคารชุมนุมคน โรงงานขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุด โดยเป็นอาคารที่ได้ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จะต้องทำการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฏกระทรวงมีผลบังคับ โดยการรับรองจาก บุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ถ้าสงสัยว่าอาคารใดอาคารหนึ่งนั้นเข้าข่ายที่จะต้องทำการตรวจสอบอาคาร หรือไม่ ได้ในblog ที่ผมเขียนตาม link นี้ ได้ www. หรือจาก website ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร http://services.dpt.go.th/mm_auditbldg/  ในwebsite ดังกล่าวยังสามารถตรวจหารายชื่อ ที่ยู่ของบุคคล หรือ …

Continue Reading

Fire and Life Safety in Bangkok Buildings

From Bangkok Post : “Fico fire spurs sprinkler law for over 1,000 old buildings” A tragic fire in an old  building in Bangkok gets headlines and everyone is looking around for who to blame, and a lot of talk of “New Laws” are spreading. It seems Bangkok is destined to remain a city trailing way back behind international fire and …

Continue Reading