Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)
- Geerati Tiasiri
- October 12, 2012
- Wellness
- Ambiance, Bangkok, Building Code, Building inspection, Building Law, construction, Danger, Emergency System, Engineering, FENN DESIGNERS, Geerati Tiasiri, Life Safety, Radon, Regulation, Seasonal, Sick Building Syndrome, Sustainable Materials, Wellness
- 0 Comments
อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ ประกอบด้วย:
1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal)
ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่ สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้ เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ ถ้าไม่มีการออกแบบที่ดี หรือ ส่วนผสมของคอนกรีตไม่เหมาะสม หรือตำแหน่งการเรียงเหล็กที่ถูกต้อง ย่อมอาจก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวได้ ส่วนความเสียหาย ประเภทรอยร้าวนี้จะมากหรือน้อย ย่อมขึ้นกับอีกหลายปัจจัย
2. ความชื้นจากน้ำ หรือจากน้ำฝน
ก่อให้เกิดปัญหาอีกรูปแบบยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีความชื้น หรือ น้ำใต้ดินสูงมากย่อมอาจจะทำความเสียหายให้แก่ฐานราก ตอม่อ เสา คานคอดิน หรือ พื้นส่วนที่สัมผัสดิน ความชื้น หรือ น้ำ จะซึมผ่านผิวคอนกรีตที่มีสภาพเป็นรูพรุน และเข้าไปทำปฎิกิริยากับเหล็กเสริมที่อยู่ภายในเนื้อคอนกรีต น้ำกับเหล็ก เรารู้ดีว่า ย่อมเกิดสนิม เมื่อสนิมเกิดมากขึ้นๆ ก็จะดันเนื้อคอนกรีต แตกออก ถ้าเกิดมากๆ ก็อาจจะทำให้อาคารล้มลงได้ นอกจากนี้ ความชื้นทำให้สีที่ทาไว้บนผนังร่อนออกมา บางกรณีถ้าสีคุณภาพดีก็จะเห็นผนังพองเป็นรูปครึ่งวงกลม ถ้าเอาเข็มแทง น้ำก็จะพุ่งออกมา ความชี้นที่ผนังยังเป็นแหล่งที่เกิดเชื้อรา ซ่อนอยู่ภายใน บางที่เราก็ไม่ทราบสาเหตุว่าทำไม จึงเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ หรือ โรคหอบหืด โดยนึกไม่ถึงแม้นแต่น้อยว่า ต้นเหตุที่แท้จริงของโรคแอบอยู่ใต้วอลล์เปเปอร์ หรือ พรมในห้องนอนและห้องต่างๆ ในบ้านนั่นเอง
3. รังสีที่แผ่มาจากบรรยากาศ (Ultra violet and others) และรังสีที่แผ่มาจากใต้ดิน (Radon)
4.ความชื้นจากบรรยากาศ (Ambiance Moisture) จากน้ำค้าง จากน้ำฝน จากหมอก จากหิมะ และลูกเห็บ
ความเสียหาย จากสาเหตุข้างต้น แต่ละภูมิภาค ก็สามารถต่อสู้ป้องกัน เอาชนะได้ ไม่เป็นปัญหาใหญ่อะไร
5. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลก เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และดินทรุดตัว เป็นต้น
ความเสียหายจากสาเหตุนี้ มนุษย์ อาจป้องกันได้ระดับหนึ่ง หรือหลีกเลี่ยงได้ โดยการวิเคราะห์ และวิจัย ในช่วงการศึกษาแผนแม่บท และการออกแบบ ที่เห็นง่ายๆ ตัวอย่างของบ้านเรา ทั้งที่รู้ว่า เป็นทางน้ำหลาก เพื่อให้น้ำเหนือไหลบ่าไปลงทะเลที่อ่าวไทย ก็ยังไปสร้างสิ่งต่างๆ ขวางทางน้ำหลาก และทั้งที่รู้ว่าที่ดินตรงนั้นเป็นหนองน้ำ และมีดินชนิดพิเศษ เรียกว่า Bangkok clay เป็นประเภท marine clay คล้ายๆฟองน้ำ ก็ยังอนุมัติให้ทำการก่อสร้างสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้ และ และ และ และ ฯลฯ
6. วัสดุต่างชนิดกันที่ต้องใช้ร่วมกัน
บางทีก็นึกไม่ถึงว่า วัสดุบางชนิดทำความเสียหายให้แก่วัสดุที่อยู่ใกล้ๆกัน ตัวอย่างเช่น การต่อท่อน้ำ หรือ ท่อรอยสายไฟฟ้า เข้ากับอุปกรณ์ประกอบเช่น แท่งน้ำ หรือ ตู้สาขาไฟฟ้า ปรากฏว่า แท้งน้ำ หรือ ตู้สาขาไฟฟ้า ค่อยๆเกิดสนิม ผุกร่อน และเสียหายในที่สุด สาเหตุ เกิดจากการต่างศักย์นั่นเอง ลองนึกดูถ้าเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีราคาแพง พรือ เป็นอุปกรณ์ที่หยุดการทำงานไม่ได้ หรือ ต้องการอะไหล่จากต่างประเทศ จะเสียหายแค่ไหน ดังนั้น ต้องเข้าใจวัสดุ อุปกรณ์ การก่อสร้าง และการติดตั้งอย่างดี
ฉะนั้น ผู้ออกแบบ และผู้ก่อสร้าง ต้องเข้าใจ พฤติกรรม ข้างต้น เพื่อให้การเลือกใช้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการก่อสร้าง อาคาร มีความคงทนถาวร มีเสถียรภาพ และที่สำคัญเพื่อลดการซ่อมบำรุงรักษาอาคาร ให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารมีความสุข ปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดี โดยคำนึงถึงคุณภาพของอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) และคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุแบบยั่งยืน (Sustainable Materials) รวมทั้งเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น (Local materials) เนื่องจากเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับภูมิประเทศที่สุด และเพื่อให้โลกสีเขียวของเราคงอยู่ต่อไป
อาทิตย์หน้า จะได้ขยายความ สาเหตุของการทำให้ อาคารของเราป่วยที่เกิดจาก องค์ประกอบภายในอาคาร สำหรับตอนนี้ ถ้าติชมอย่างไรเพียง กด LIKE แล้วติชมด้วยครับ
Related Posts
- Lydia Tiasiri
- October 12, 2012
LED there be light!
I was stuck in Bangkok infamous traffic jam, my eyes started hurting then I realized I was surr ..
- Sheetal Chailertborisuth
- November 29, 2012
Sweet Smelling Dangers
I walked in to a friend’s house last week and her house smelled so good. I asked her what she ..
I just could not leave your site prior to suggesting that I actually enjoyed the usual information a person supply…
This is fantastic! Keep up the good work. ❤️
It's interesting to see how glass can be used in so many ways to be converted into art. My husband…