Flood Protection That Works (KL & Amsterdam)

สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนถึงการป้องกันน้ำท่วมที่ทางการ (กทม) ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ที่น่าสนใจที่สุดคือการเอาแท่งคอนกรีตเบริเออร์ (Concrete Barrier) ที่ใช้สำหรับกันชนรถป้องกันอุบัติเหตุ มาวางตามถนนสายนิมิตรใหม่ ช่วงปลายถนนรามคำแหงถึงถนนร่มเกล้า และตลอดแนวถนนร่มเกล้าไปถึงมอเตอร์เวย์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ผมสงสารคนกรุงที่มีผู้ปกครองที่มองใกล้แค่เพียงกระเป๋าเท่านั้น สักแต่ใช้งบประมาณไปให้หมด โดยไม่แยแสว่าผลตามมาจะทำให้ผู้คนเดือดร้อนเท่าใด ทั้งๆที่ทราบอยู่ในอกว่า รัฐบาลกำลังจ้างที่ปรึกษาผู้เชียวชาญมาศึกษาและทำการแก้ไขอย่างยั่งยืน เมื่อนั้นแท่งคอนกรีตที่วางไว้ก็ตั้งงบประมาณใหม่มารื้อออก ผมเสียดายงบประมาณมหาศาล(ภาษ๊ของพวกเรา) ที่กทมสูญเสียไปในการก่อสร้างวางแท่นคอนกรีต ตลอดแนวถนนนิมิตรใหม่ และช่วงปลายถนนรามคำแหง และที่อื่นๆที่จะทำ

ในขณะเดียวกันผมก็ชื่นชม ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างประตูน้ำกั้นแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน (River Thames Flood barrier for flood protection in London) ที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดเป็นทางการปีพศ 2527 (1984) ประมาณ 30 ปี หรือการก่อสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมและถนนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Smart Tunnel in Kuala Lumpur) นับเป็นโครงดารที่เพิ่งทำการก่อสร้างแล้วเส็จ ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และได้รับรางวัลมากมาย หรือการก่อสร้างประตูกั้นน้ำทะเลสำหรับกรุงอัมสเตอร์ดัม (Strom Surge Barrier and Dam for flood protection of Amsterdam) ที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดเป็นทางการ ในปี พศ 2529 (1986)นับเป็นเวลาประมาณ 25 ปี ภายหลังจากที่ได้สร้างทำนบกั้นพื้นที่ลุ้มต่ำต่างๆ นับร้อยๆ ปี เป็นระยะทาง 100 กว่า กม จริงอยู่การก่อสร้างระบบขนาดใหญ่อย่างนี้ ย่อมต้องใช้เงินจำนวนมากในการก่อสร้าง และการบำรุงรักษา แต่เป็นโครงการที่มีปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบอย่างรอบครอบ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันทางด้านเทคนิคที่ได้ผลดีแล้ว การศึกษาในเชิงของการลงทุนระยะยาว นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า จะเห็นได้ว่า กรุงลอนดอนที่มีสภาพทางภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานครที่สุด ที่เราน่าจะเอาเป็นแบบอย่าง หรือ กรุงกัวลาร์ลัมเปอร์ หรือ กรุงอัมสเตอร์ดัม ต่างก็เป็นระบบที่ป้องการน้ำท่วมได้อย่างยั่งยีน เสียเงินจำนวนมากในการก่อสร้าง แต่ก็ได้ผลคุ้มค่า

วิสัยทัศน์ของผู้นำ หรือ การเมืองในบ้านเรากลายเป็นเงื่อนสำคัญในการแก้ปัญหา มาก่อนความเชี่ยวชาญ ในการแก้ปัญหา มาก่อนการตัดสินโดยการศึกษาอย่างรอบครอบ ทั้งทางด้านวิชาการ ทางด้านการเงินการลงทุน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองดูรอบตัวเราประเทศไทยเป็นอย่างนี้นี่เอง ผมจำได้ว่าเมื่อช่วงปี พศ 2521-22 ได้มีการศึกษาเพื่อเลือกตำแหน่งสำหรับก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ พื้นที่หนองงูเห่าในตอนนั้นคือทางเลือกที่ ไม่ควรเลือกด้วยหลายเหตุผล แต่แล้วในที่สุด ที่นี่คือสนามบินสุวรรณภูมิ มาดูเรื่องร้อนสำหรับเดือนนี้ กทมลงทุนก่อสร้างสนามแข่งขันกีฬาฟุตซอลระดับโลก ด้วยปริมาณเงินค่าก่อสร้าง 1,300 ล้านกว่าบาท ได้กลายเป็นนุสาวรีย์ แห่งความอัปยศไปทั่วโลก การก่อสร้างสนามแข่งขันระดับนี้ จะต้องมีกรอบเงื่อนไขการก่อสร้างเป็นข้อกำหนด ซึ่งมีมาตรฐานระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ การออกแบบ การใช้สอยอาคาร รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการแข่งขัน ทั้งหมดต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ฟีฟ่ากำหนด กทมได้ทำการก่อสร้างสนามแข่งขัน ที่มีชื่อว่า Bangkok Futsal Arena ตามมาตรฐานของกทมเอง ไม่เพียงการก่อสร้างที่ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาสำหรับการแข่งขันแล้ว เกือบทุกข้อที่คัดลอกมาได้จากเงื่อนไขสำหรับการก่อสร้างตามมาตรฐานของฟีฟ่า กทมไม่ได้ทำตามนั้น จึงไม่ประหลาดใจเลยว่า ฟีฟ่าไม่ยอมใช้สนาม Bangkok Futsal Arena ในการแข่งขันฟุตซอลโลก 2012 ในปีนี้ คนไทยพลอยเอากระบุงคลุมหน้าไว้ เพราะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ของเรา แค่เลือกตำแหน่งสนามแข่งขัน ที่อยู่แสนไกลแล้ว ถนนทางเข้าที่คดไปเดี้ยวมากว่าจะหาสนามเจอก็ หมดอารมณ์เล่นซะแล้ว

อนิจจา คนไทย การป้องกันน้ำท่วม กทม ทุ่มทุมหลายร้อยล้านบาททำการก่อสร้าง วางแท่งคอนกรีต บางส่วนบนทำนบป้องกันน้ำท่วมเดิม หรือที่ทราบดีว่า King Dike ที่เป็นโครงการตามพระราชดำริ ที่ได้ก่อสร้างมา ร่วม 30 ปีที่ผ่านมา ตอนนั้น ทางการได้ทำการศึกษา ทางด้านเทคนิคหลายด้าน ทั้งปฐพีกลศาสตร์ของดิน ทำเป็นถนน สำหรับการสัญจรนอกเหนือจากการเป็นทำนบกั้นน้ำแล้ว ยวดยานสามารถเคลื่อนที่เป็นวงรอบ กรุงเทพชั้นนอก และมีประตูน้ำ และเครื่องสูบน้ำเป็นเครื่องมือช่วย นี่คึอที่มาของถนนหลักหลายสาย เช่น นิมิตรใหม่ ร่มเกล้า เป็นต้น สำหรับการควบคุมน้ำท่วม กรุงเทพ วันนี้กทมไม่ได้ทำการศึกษา ข้อดี ข้อเสียแต่อย่างใด แล้วก็นำเอาแท่งคอนกรีตมาวางตามทำนบป้องกันน้ำท่วมเป็นช่วงๆ เป็นฟันหล่อ ตลอดแนวถนน ทำเพื่ออะไรเราทราบดี ตาวิเศษเห็นนะ


 

อ้างอิง  ; Sources:

http://en.wikipedia.org/wiki/Thames_Barrier

http://smarttunnel.com.my/

http://en.wikipedia.org/wiki/SMART_Tunnel

http://en.wikipedia.org/wiki/Oosterscheldekering