Flood Protection That Works (KL & Amsterdam)

สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนถึงการป้องกันน้ำท่วมที่ทางการ (กทม) ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ที่น่าสนใจที่สุดคือการเอาแท่งคอนกรีตเบริเออร์ (Concrete Barrier) ที่ใช้สำหรับกันชนรถป้องกันอุบัติเหตุ มาวางตามถนนสายนิมิตรใหม่ ช่วงปลายถนนรามคำแหงถึงถนนร่มเกล้า และตลอดแนวถนนร่มเกล้าไปถึงมอเตอร์เวย์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม ผมสงสารคนกรุงที่มีผู้ปกครองที่มองใกล้แค่เพียงกระเป๋าเท่านั้น สักแต่ใช้งบประมาณไปให้หมด โดยไม่แยแสว่าผลตามมาจะทำให้ผู้คนเดือดร้อนเท่าใด ทั้งๆที่ทราบอยู่ในอกว่า รัฐบาลกำลังจ้างที่ปรึกษาผู้เชียวชาญมาศึกษาและทำการแก้ไขอย่างยั่งยืน เมื่อนั้นแท่งคอนกรีตที่วางไว้ก็ตั้งงบประมาณใหม่มารื้อออก ผมเสียดายงบประมาณมหาศาล(ภาษ๊ของพวกเรา) ที่กทมสูญเสียไปในการก่อสร้างวางแท่นคอนกรีต ตลอดแนวถนนนิมิตรใหม่ และช่วงปลายถนนรามคำแหง และที่อื่นๆที่จะทำ ในขณะเดียวกันผมก็ชื่นชม ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ไม่ว่าจะเป็น การก่อสร้างประตูน้ำกั้นแม่น้ำเทมส์ ในกรุงลอนดอน (River Thames Flood barrier for flood protection in London) ที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดเป็นทางการปีพศ 2527 (1984) ประมาณ 30 ปี หรือการก่อสร้างอุโมงค์ป้องกันน้ำท่วมและถนนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ (Smart Tunnel in Kuala Lumpur) นับเป็นโครงดารที่เพิ่งทำการก่อสร้างแล้วเส็จ ประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา และได้รับรางวัลมากมาย หรือการก่อสร้างประตูกั้นน้ำทะเลสำหรับกรุงอัมสเตอร์ดัม (Strom Surge Barrier and Dam …

Continue Reading

Sinking Cities

I am sure, like me, you are also following the news of the Maldives islands rapid sinking levels and their soon to be disappearance. Last year, I have seen the horrible flood in Bangkok  the worst I have ever seen in my 25 years living here. I saw the tsunami in 2005 washing away hole villages and shore lines changing. …

Continue Reading

The New Foolishness of Flood Protection in Bangkok

Flood ! Flood ! Flood ! ในชีวิตคนกรุงอย่างเราท่านคงหนีไม่พ้น คำว่า น้ำท่วม ปี พศ 2554 เป็นปีที่ทำให้ทุกคนจดจำ หวาดผวา ขวัญเสีย ใจเสีย ทำใจไม่ได้ ตกใจกลัว ลนลาน เสียสุขภาพจิต ทุกๆ 5 นาที ในการสนทนาไม่ว่าเรื่องใด ทุกการสนทนาจะหนีไม่พ้น เรื่องน้ำกำลังมา ศัพท์ทางเทคนิดที่พวกวิศวกรใช้กันเริ่มทำให้คนส่วนใหญ่ได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ต้นน้ำ ท้ายน้ำ มวลน้ำ ลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำสูงเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก) รวมถึงการมีเชื้อโรค และพิษภัยที่มาจากน้ำ ถ้าคิดในทางบวกก็เป็นการดี ที่สถาณการณ์ได้พัฒนากลายเป็นห้องเรียนให้กับคนไทยส่วนมาก และได้รู้ว่าเมื่อถึงภาวะคับขันคนไทยมีน้ำใจงามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไทยหลายคนมีจิตอาสาช่วยคนยากในยามที่ภาวะที่ซึมเศร้าอย่างนั้น ภาพถ่ายดาวเทียม ประมาณเดือน ตุลาคม 2554 มวลน้ำจากทิศเหนือเริ่มไหลลงทางใต้ที่ต่ำกว่า เพื่อไหลลงทะเล  ผมคงไม่อยากวิจารณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมมวลน้ำจึงมีมากมายขนาดนี้ ดูในรูปแล้วยิ่งหวาดกลัว ยิ่งคนที่อยู่ใกล้พื้นที่น้ำท่วมจะมองเห็นภาพได้ดี ตอนที่มวลน้ำไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอ่อท่วมบ้านเรือนเกือบถึงชั้น 2 ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง รถยนต์ ยังเอาออกไม่ทัน ทั้งๆที่ มีการบอกข่าวทั้งภาพ และเสียงตลอดเวลา ทั้งรัฐบาล หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เสนอแนวคิด แนวทางป้องก้นออกมามากมาย ดังเช่น รัฐบาลได้กำหนดการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยิน โดยการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่เรียกว่า สำนักงานบริหารจัดการน้ำ และอุทุกภัย (กบอ) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ โดยกำหนดแผนในการป้องกันน้ำท่วมทั้งอย่างเร่งด่วน และอย่างยั่งยืน …

Continue Reading