Motorcycle Dilemma (part 2)

การที่เรามีขบวนการรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือที่กลายสภาพเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋ว ถึงแม้นว่าจะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว สะดวก แทบจะเดินออกจากบ้านก็สามารถเดินทางไปถึงที่ทำงานได้เลย เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบการขนส่งมวลชนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งต้องเดินออกจากบ้านมาขึ้นรถ 2 แถวออกจากซอยหน้าบ้านไปยังถนนใหญ่ เพื่อนั่งรถเมล์ อีก 1-3 ต่อกว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ดังนั้นระบบรถมอเตอร์ไซด์จึงเจริญเติบโตมาได้เท่าทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามเราก็ได้รับผลกระทบของการมีระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋วนี้ แตกต่างกันไป ดังเช่น

  • พวกเขาจอดรถขวางทางเท้า บางที่แทบไม่มีที่ให้คนเดินเอาเสียเลย
  • พวกเขาจอดรถขวางทางรถยนต์ ต้องเบียดรถพวกเขาเข้าออกในซอยเล็กๆ
  • บางที่เจอเขาเดินมาบอกว่า อย่ามาจอดรถตรงนี้ เพราะที่นี่ คือ วินมอเตอร์ไซด์ (ไม่ทราบใครเสียภาษีบำรุงกรมขนส่งทางบกมากกัน) เคืองแต่ก็ต้องหลบเพราะกลัวเขากรีดรถหรือ เอาตะปูแทงยางรถเรา
  • พวกเขาทำกำบังฝนและแดด แฮนเมด ด้วยเศษวัสดุต่างๆ ที่พอหาได้ เป็นมลพิษทางสายตาอย่างยิ่ง
  • ท่ามกลางความสดวกสบายในการเดินทางไปทำงานของผู้คน และก็ลืมไปว่าการนั่งรถมอเตอร์ไซด์นั้นอันตรายเพียงใด อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถึงแม้นว่ารัฐจะออกกฎหมายให้ผู้ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย แต่ด้วยความมักง่าย หรือ เรื่องสุขลักษณะส่วนตัวทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหมวกนิรภัย สำนักสถิติแห่งชาติ ได้สรุปผลการสำรวจจากประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปในปี 2553 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 50.3  ล้านคน

– ผู้ที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จำนวน 48.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.9 – และมีผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางถนนจำนวน 1.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.1

รูปภาพด้านล่างเป็นสรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งปี ในปี 2553 ที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รวบรวมรายงานผล การเกิดอุบัติเหตุจากรถมอเตอร์ไซด์ นั้นสูงมาก ถึงร้อยละ 74.2 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดของจำนวน 1.6 ล้านราย น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้เราได้ระมัดระวังตัวมากขึ้น ได้แต่ขอภาวนาให้ทุกคนที่อาศัยการเดินทางด้วยวิธีนี้ มีความปลอดภัยในการเดินทาง

ที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติ

http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/pubsfiles/safeJourney.pdf