Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

Street Hawkers: Mae Kha Solution

การลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ  ผลของการเลือกตั้ง ก็ได้สรุปผลเป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางคำมั่นสัญญา จะทำโน้นแก้ไขนี่ ก่อนวันเลือกตั้งเราก็ได้แต่กระพริบตารอคอยดูคำมั่นสัญญานั้นว่าผลจะเป็นประการใด การหาบเร่แผงลอย จะยังคงคู่ทางเท้าของเราไปชั่วนิรันตรใช่ไหม? นโยบายของผู้ว่าฯจะสามารถแก้ปัญหาการหาบเร่แผงลอยได้หรือไม่ ความจริงปัญหาหาบเร่แผงลอยไม่ใช่จะเลวร้ายไปเสียทีเดียว ถ้ามองอย่างใจกว้าง ข้าวของที่วางขายตามท้องถนนและทางเท้าต่างก็ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ว่าจะซื้อของ หรือ รับประทานอาหารในราคาย่อมเยาว์ สะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไกลข้าวของ อาหารเช้า กลางวัน เย็น หรือ รอบดึกต่างก็มารออยู่เกือบชิดรั้วบ้านหรือสถานที่ทำงาน ช่างสะดวกสบายเสียจริงประเทศไทย ก็ให้โอกาสคนจนได้มีโอกาสทำมาหากินบ้างสิเขาจน และดูสิพวกเขามอซอทั้งนั้น ขายของก็เพียงหาเช้ากินค่ำเท่านั้นเอง ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง พวกหาบเร่แผงลอย ต่างกรีดขวางทางเดินเท้า บางที่เราต้องเดินหลบลงไปบนถนนเพื่อเดินต่อไปข้างหน้าเกือบโดนรถที่วิ่งผ่านมาพอดีชนเอา บางพื้นที่ตามที่เราทราบไม่มีทางเท้า แม่ค้าหาบเร่ก็ตั้งภัตตาคารสัญจรของเขาบนส่วนหนึ่งของถนน ทำให้รถที่วิ่งผ่านไปมาต้องคอยหลบเพราะจะเฉียวชนเอาคนที่นั่งรับประทานอาหารอยู่ที่ภัตตาคารนั้น พวกหาบเร่แผงลอยขายของได้เงินไม่มีการเสียภาษี ดังเช่นมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเรา น่าอิจฉาไหม ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นชาวหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่มีรถปิคอัพเป็นของตัวเอง ขับมาแต่เช้าขนข้าวของที่จะขาย หรือ สัมภาระที่ใช้ในการทำอาหารขายเมื่อเอาของลงหมดแล้วก็ขับรถไปจอดไว้ตามที่ต่างๆ พอตกเย็นก็มาขนของกลับไปทำอย่างนี้ทุกวันเว้นวันอาทิตย์ เนื่องจากไม่มีผู้มาทำงานในวันนั้น บรรดาร้านอาหารบนทางเท้า ตกตอนเย็นก็จะทำความสะอาดจานชาม เศษอาหารที่เหลือส่วนหนึ่งใส่ถุงทิ้งตามทางเท้าเพราะกทมมาเก็บไปแต่เช้ามืด อีกส่วนหนึ่ง รวมเศษน้ำมันก็มักจะเททิ้งลงตรงท่อระบายน้ำที่ติดกับภัตตาคารของเขานั่นเองใกล้ดี ส่วนข้าวของก็วางกองไว้ที่นั่นเลย บางรายเอาผ้าคลุมไว้ พอตกกลางคืนบรรดา สัตว์เลี้ยง และที่ไม่เลี้ยงก็ออกคุยหาเศษอาหารก็ทำให้อิ่มท้องได้ทุกวัน อนิจจา สุขอนามัยคนกรุง โดยเฉพาะอาหารที่ขาดสุขลักษณะที่ดี อย่างที่กล่าวมาทำให้คนกรุงได้รับเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทุกครั้งที่ทานอาหารแบบนี้อย่างจำยอม อัตราผู้ได้รับเชื้อก็เพิ่มขึ้น ทั้งอหิวาตกโรค โดรท้องร่วง …

Continue Reading

Motorcycle Dilemma (part 2)

การที่เรามีขบวนการรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างหรือที่กลายสภาพเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋ว ถึงแม้นว่าจะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว สะดวก แทบจะเดินออกจากบ้านก็สามารถเดินทางไปถึงที่ทำงานได้เลย เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบการขนส่งมวลชนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งต้องเดินออกจากบ้านมาขึ้นรถ 2 แถวออกจากซอยหน้าบ้านไปยังถนนใหญ่ เพื่อนั่งรถเมล์ อีก 1-3 ต่อกว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ดังนั้นระบบรถมอเตอร์ไซด์จึงเจริญเติบโตมาได้เท่าทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามเราก็ได้รับผลกระทบของการมีระบบขนส่งมวลชนขนาดจิ๋วนี้ แตกต่างกันไป ดังเช่น พวกเขาจอดรถขวางทางเท้า บางที่แทบไม่มีที่ให้คนเดินเอาเสียเลย พวกเขาจอดรถขวางทางรถยนต์ ต้องเบียดรถพวกเขาเข้าออกในซอยเล็กๆ บางที่เจอเขาเดินมาบอกว่า อย่ามาจอดรถตรงนี้ เพราะที่นี่ คือ วินมอเตอร์ไซด์ (ไม่ทราบใครเสียภาษีบำรุงกรมขนส่งทางบกมากกัน) เคืองแต่ก็ต้องหลบเพราะกลัวเขากรีดรถหรือ เอาตะปูแทงยางรถเรา พวกเขาทำกำบังฝนและแดด แฮนเมด ด้วยเศษวัสดุต่างๆ ที่พอหาได้ เป็นมลพิษทางสายตาอย่างยิ่ง ท่ามกลางความสดวกสบายในการเดินทางไปทำงานของผู้คน และก็ลืมไปว่าการนั่งรถมอเตอร์ไซด์นั้นอันตรายเพียงใด อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถึงแม้นว่ารัฐจะออกกฎหมายให้ผู้ซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ต้องสวมหมวกนิรภัยด้วย แต่ด้วยความมักง่าย หรือ เรื่องสุขลักษณะส่วนตัวทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหมวกนิรภัย สำนักสถิติแห่งชาติ ได้สรุปผลการสำรวจจากประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปในปี 2553 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 50.3  ล้านคน – ผู้ที่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนน จำนวน 48.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 96.9 – และมีผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการเดินทางถนนจำนวน 1.6 …

Continue Reading

Motorcycle Dilemma

ในน้ำมีปลา ในถนนมีรถเยอะมาก ประเทศไทยนี่อุดมสมบรูณ์ จริงเชียว การเดินทางของผู้คนในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพ ช่างมีรูปแบบในการเดินทาง หลากหลายเสียจริง ลองมองดูตามท้องถนนเล่นๆ  ในกรุงเทพมีระบบขนส่งมวลชน ครบถ้วนตั้งแต่ขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดเล็กแบบนาโน เลยที่เดียว ขนาดใหญ่ แท็กซี่ ที่สร้างสีสรรมากมายในบ้านเรา คนต่างชาติมักกล่าวขวัญถึงเสมอ ตุ๊ก ตุ๊ก     ต่างชาติมาไทยถ้าไม่ได้ขึ้น ถือว่า มาไม่ถึงเมืองไทยทีเดียว ขนาดจิ๋วแต่แจ๋ว เทียบชั้นนาโน ระบบขนส่งมวลชนระบบนี้ ที่มีที่เดียวในโลกก็ว่าได้ “มอเตอร์ไซด์” ที่สามารถส่งผู้โดยสารถึงที่ รวดเร็ว ตรงเวลา ตื่นเต้น เร้าใจ หวาดเสียวตลอดการเดินทาง เมื่อนั่งโดยสารไปกับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเหล่านี้  ระบบมอเตอร์ไซด์ได้กลายเป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของการเดินทางที่คล่องตัว ปราดเปรียว ที่เกิดจากการช่วยเหลือตัวเองของกลุ่มคนที่ต้องการเดินทางจากบ้านไปทำงาน เพื่อผจญกับการครองชีพอย่างในกรุงเทพ และที่ได้อาศัยอยู่ในประเทศที่รัฐบาลดำเนินการแต่ละอย่างชักช้า กว่าจะตั้งงบประมาณซื้อรถเมล์ หรือ สร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแต่ละที และรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างจึงได้ค่อยๆก่อกำเหนิด ขึ้นมาท่ามกลางการขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางสำหรับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร รถมอเตอร์ไซด์รับจ้างขนคนได้ที่ละคน แต่ก็รวดเร็ว และเพิ่มจำนวนขึ้นมากมายในปัจจุบันทำให้หลายคนอาศัยระบบนี้ และระบบนี้ได้ช่วยชีวิตเราท่านหลายต่อหลายครั้ง เมื่อจะต้องไปที่ใดก็ตามให้ทันเวลา ไปในที่ที่รถติดมากๆๆ ซึ่งเป็นของแถมที่ไม่อยากได้บนท้องถนน และนับวันรถมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้คนหนุ่มมีรถคันแรก และก็เอาภาษีของคนที่จ่ายภาษีไปแถมให้คนที่ซื้อรถคันแรก คนละแสน

Continue Reading

The New Foolishness of Flood Protection in Bangkok

Flood ! Flood ! Flood ! ในชีวิตคนกรุงอย่างเราท่านคงหนีไม่พ้น คำว่า น้ำท่วม ปี พศ 2554 เป็นปีที่ทำให้ทุกคนจดจำ หวาดผวา ขวัญเสีย ใจเสีย ทำใจไม่ได้ ตกใจกลัว ลนลาน เสียสุขภาพจิต ทุกๆ 5 นาที ในการสนทนาไม่ว่าเรื่องใด ทุกการสนทนาจะหนีไม่พ้น เรื่องน้ำกำลังมา ศัพท์ทางเทคนิดที่พวกวิศวกรใช้กันเริ่มทำให้คนส่วนใหญ่ได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ต้นน้ำ ท้ายน้ำ มวลน้ำ ลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำสูงเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก) รวมถึงการมีเชื้อโรค และพิษภัยที่มาจากน้ำ ถ้าคิดในทางบวกก็เป็นการดี ที่สถาณการณ์ได้พัฒนากลายเป็นห้องเรียนให้กับคนไทยส่วนมาก และได้รู้ว่าเมื่อถึงภาวะคับขันคนไทยมีน้ำใจงามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไทยหลายคนมีจิตอาสาช่วยคนยากในยามที่ภาวะที่ซึมเศร้าอย่างนั้น ภาพถ่ายดาวเทียม ประมาณเดือน ตุลาคม 2554 มวลน้ำจากทิศเหนือเริ่มไหลลงทางใต้ที่ต่ำกว่า เพื่อไหลลงทะเล  ผมคงไม่อยากวิจารณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมมวลน้ำจึงมีมากมายขนาดนี้ ดูในรูปแล้วยิ่งหวาดกลัว ยิ่งคนที่อยู่ใกล้พื้นที่น้ำท่วมจะมองเห็นภาพได้ดี ตอนที่มวลน้ำไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอ่อท่วมบ้านเรือนเกือบถึงชั้น 2 ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง รถยนต์ ยังเอาออกไม่ทัน ทั้งๆที่ มีการบอกข่าวทั้งภาพ และเสียงตลอดเวลา ทั้งรัฐบาล หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เสนอแนวคิด แนวทางป้องก้นออกมามากมาย ดังเช่น รัฐบาลได้กำหนดการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยิน โดยการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่เรียกว่า สำนักงานบริหารจัดการน้ำ และอุทุกภัย (กบอ) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ โดยกำหนดแผนในการป้องกันน้ำท่วมทั้งอย่างเร่งด่วน และอย่างยั่งยืน …

Continue Reading

Alfresco Dining

With the Rainy Season coming to an end, and the weather becoming cooler, spending time outdoors is a nice  change. Outdoor Dining  or Alfresco Dining is an enjoyable experience especially during this season. Alfresco restaurants are especially popular by the riverside,the atmosphere is wonderful,  by the Chao Phraya , where the boats are zooming past and the ambience of the …

Continue Reading

Bamboo

  The Bamboo plant has been receiving a lot of hype as being  green and sustainable and designers who are eco-conscious have been trying to incorporate this age old plant  into their designs and products. Bamboo has been used in Asian products and architecture for centuries. Many traditional Asian products are made with Bamboo, such as chopsticks and home decorative …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Anti-Bacterial Materials

As the end of the year is approaching the weather is becoming cooler and in Bangkok it is the rainy season as well. People are falling sick with all kinds of viruses, colds, coughs, flues and stomach bugs. Most of these infectious bugs are transmitted and spread in public spaces. With people moving around in office buildings, lifts, sky trains, …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading