Sick Building Syndrome ( SBS )

มนุษย์ป่วย สัตว์ป่วย หรือ พืชป่วย น่าจะเป็นเรื่องปรกติ ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่เรากำลังพูดถึง อาคารป่วย คงมีคำถามตามมามากมาย อาคารคอนกรีต อาคารเหล็ก อาคารไม้ ป่วยเป็นเหรอ? ใครจะเป็นหมอรักษาอาคารป่วยได้ จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร อะไรคือสาเหตุทำให้อาคารเหล่านี้ป่วย จะเอายาอะไรให้อาคารกินดี  ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราญ ถ้าป่วยหนักๆ จะเอาเข้าเครื่องสแกนเพื่อวินิจฉัยโรดได้อย่างไร

เมืองไทยยังไม่ถือเอาเรื่องอาคารป่วยมาเป็นสาระสำคัญ  อาการป่วยของอาคารแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่หลวงมาก หลายตนคงนึกไม่ถึง อาคารป่วยได้จาก ภายในอาคาร และจาก ภายนอกอาคาร พอสรุปโดยสังเขปได้ว่า

อาการป่วยภายนอกอาคาร ประกอบด้วย

อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal)

รังสีที่แผ่มาจากบรรยากาศ (Ultra Violet)  และรังสีที่แผ่มาจากใต้ดิน (Radon)

ความชื้นจากบรรยากาศ (Ambiance Moisture) จากน้ำค้าง จากน้ำฝน จากหมอก จากหิมะ และลูกเห็บ

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลก เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และดินทรุดตัว เป็นต้น

อาการป่วยที่เกิดจากภายในอาคาร

เป็นผลพวงที่ตามมาจากการก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เช่นอาคารทรุดตัว อันเนื่องจากปัญหาของฐานราก การที่คาน เสา ผนังอาคาร หัก หรือ แตกร้าวทำให้สูญเสียกำลังในการรับน้ำหนัก การรั่วซึมของระบบหลังคา การซึมของน้ำภายใน และภายนอกอาคาร เกิดจากการรั่วซึมของระบบประปา หรือระบบระบายน้ำภายในอาคาร หรือเกิดจากความชื้นใต้ดินซึมผ่านเข้ามาตามพื้น และผนังบ้าน ทำให้สีที่ทาบนผนังพองตัว ก่อให้เกิดเชื้อราภายในผนัง

เกิดจากการใช้อาคารที่ผิดประเภท เช่นออกแบบสำหรับเป็น ที่จอดรถ ภายหลังมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดเลี้ยง หรือ ออกแบบอาคารสำหรับเป็น อาคารที่พักอาศัย แล้วมาเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทำให้การรับน้ำหนักขององค์อาคารเปลี่ยนไป รวมทั้ง งานระบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ประปา หรือ ระบบปรับอากาศ ที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ในขั้นตอนออกแบบและก่อสร้าง ก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการใช้อาคารอย่างต่อเนื่อง และลามไปถึงส่วนต่างๆ ของอาคารที่กลายเป็นส่วนอาคารที่มีองค์ประกอบที่ไม่สมบูรณ์

ขาดการบำรุงรักษาอาคารอย่างเหมาะสม เช่น การบำรุงรักษาประจำเดือน หรือประจำปี สำหรับงานระบบ ต่างๆ เป็นต้นว่า ระบบลิฟท์ ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบปรับอากาศส่วนกลาง ที่มีระบบหอน้ำหล่อเย็น (Cooling tower) ซึ่งถ้าไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ย่อมเกิดปัญหาที่รุนแรงได้ เนื่องจากภายในหอน้ำหล่อเย็น จะมีการเจริญเติบโตของบักเตรีชนิดหนึ่งที่มีชื่ออย่างไพเราะ ว่า Legionella ซึ่งถ้ามีจำนวน และอุณหภูมิที่เหมาะสมอาจทำให้ผู้อาศัยในอาคารเสียชีวิตได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารเป็นโรคหอบโดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน

เกิดจากการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสมในขั้นตอนการออกแบบ และก่อสร้าง ทั้งส่วนที่เป็นคอนกรีต เหล็ก ไม้ วัสดุปูพื้นผิว ตลอดจนการเลือกใช้อุปกรณ์ งานระบบต่างๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปส่วนของอาคารที่ถูกสร้างไว้ ก็จะค่อยๆฟ้องออกมา

เฟ็น ดีซายเนอร์ส สตูดิโอตระหนักถึง การเลือกใช้ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการก่อสร้าง ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน เพื่อความคงทนถาวร มีเสถียรภาพ และลดการซ่อมบำรุงรักษาอาคาร ให้ผู้อยู่อาศัยภายในอาคารมีความสุข ปลอดภัย และมีสุขอนามัยที่ดี รวมทั้งคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุแบบยั่งยืน (Sustainable Materials) เพื่อให้โลกสีเขียวของเราคงอยู่ต่อไป

อาทิตย์หน้า จะขยายความเจาะลึก ในแต่ละเรื่อง สำหรับตอนนี้ ถ้าติชมอย่างไรเพียง กด LIKE กลับมา