การออกแบบบันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหนีไฟในอาคาร ที่มีกฎหมายอาคารออกข้อบังคับต่าง ๆ ให้ผู้ออกแบบยึดเป็นแนวทางในการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้สอยอาคาร กฎหมายอาคารที่ควบคุมรายละเอียดของบันไดหนีไฟ รวมถึงมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบันไดหนีไฟ มีดังต่อไปนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (ใช้สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (ใช้สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคารปี พ.ศ. 2544 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531 กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544  จากข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้ควบคุมอาคารในส่วนของบันไดหนีไฟ  และเนื่องจากการที่มีการออกกฎหมายออกมาหลายฉบับนี่เอง จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยึดโยงในส่วนข้อกำหนดของกฎหมาย หากจะแบ่งขนาดของอาคารเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบ อาจแบ่งการออกแบบบันไดหนีไฟ ออกเป็นสองประเภทตามกฎหมายควบคุมอาคารดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร บันไดหนีไฟสำหรับอาคาร องค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องจัดเตรียมสำหรับบันไดหนีไฟ เพื่อให้อาคารถูกต้องและเกิดความปลอดภัย สอดคล้องกับกฎหมายควบคุมอาคาร รองรับความต้องการของผู้พิการ อาจกำหนดได้ดังนี้ บันไดหนีไฟสำหรับอาคารสูงไม่เกิน 23 เมตร ผนังทึบ ทนไฟ ประตูบันไดหนีไฟขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 850 มม สูง …

Continue Reading

Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading

Sick Building Syndrome ( SBS )

มนุษย์ป่วย สัตว์ป่วย หรือ พืชป่วย น่าจะเป็นเรื่องปรกติ ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่เรากำลังพูดถึง อาคารป่วย คงมีคำถามตามมามากมาย อาคารคอนกรีต อาคารเหล็ก อาคารไม้ ป่วยเป็นเหรอ? ใครจะเป็นหมอรักษาอาคารป่วยได้ จะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร อะไรคือสาเหตุทำให้อาคารเหล่านี้ป่วย จะเอายาอะไรให้อาคารกินดี  ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราญ ถ้าป่วยหนักๆ จะเอาเข้าเครื่องสแกนเพื่อวินิจฉัยโรดได้อย่างไร เมืองไทยยังไม่ถือเอาเรื่องอาคารป่วยมาเป็นสาระสำคัญ  อาการป่วยของอาคารแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใหญ่หลวงมาก หลายตนคงนึกไม่ถึง อาคารป่วยได้จาก ภายในอาคาร และจาก ภายนอกอาคาร พอสรุปโดยสังเขปได้ว่า อาการป่วยภายนอกอาคาร ประกอบด้วย อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) รังสีที่แผ่มาจากบรรยากาศ (Ultra Violet)  และรังสีที่แผ่มาจากใต้ดิน (Radon) ความชื้นจากบรรยากาศ (Ambiance Moisture) จากน้ำค้าง จากน้ำฝน จากหมอก จากหิมะ และลูกเห็บ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลก เช่น แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม และดินทรุดตัว เป็นต้น อาการป่วยที่เกิดจากภายในอาคาร เป็นผลพวงที่ตามมาจากการก่อสร้าง ทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เช่นอาคารทรุดตัว อันเนื่องจากปัญหาของฐานราก การที่คาน …

Continue Reading

Are Tac Tiles leading the blind to danger?

คงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่เคยเดินบนทางเท้า หรือ บาทวิถี หรือฟุตบาท ในที่ๆแตกต่างกันไป แต่จะมีสักกี่คนที่เคยสังเกตุว่า บนทางเท้านั้นมีลวยลายอะไรอยู่บนนั้นบ้าง และนอกเหนือจากลวยลายบนทางเท้าแล้วยังมีการวางกระเบื้องปูพื้นอีกชนิดหนึ่งบนนั้นคือ กระเบื้อง Tac tiles หลายคนคงสงสัยว่า  Tac Tiles หมายถึงอะไร หรือไม่เคยสังเกตุเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะความเร่งรีบ ในแต่ละวัน หรือ เป็นเรื่องไกลตัว Tac tiles คือ กระเบื้องปูพื้นสำหรับนำทางคนตาบอดนั่นเอง ที่เราเห็นบนทางเท้าในกทม หรือ เทศบาลในจังหวัดต่างๆ ที่ใช้กระเบื้องชนิดนี้ปูบนทางเท้า ซึ่งโดยมาตรฐานของ กระเบื้องปูพื้นชนิดนี้ คือ จะมีรอยนูนด้านบน เป็น 2 รอย คือ รอยยาวในแนวนอน และเป็นรอยกลม ซึ่งการใช้งานของกระเบื้อง 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ กระเบื้องรอยในแนวนอนสำหรับปูทางเดิน เพื่อเป็นรอยทางให้คนตาบอดได้เดินไปในทิศทางนั้น หรือ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกระเบื้องนำทาง และเมื่อเดินไปสะดุดเอากระเบื้องซึ่งเป็นรอยกลม ที่ได้ปูไว้สำหรับเป็นจุดเตือนให้หยุดเคลื่อนที่ชั่วขณะ และต้องพิจารณาต่อไปว่าจะไปทางไหนได้จากจุดนั้น กล่าวคือ จะต้องเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวา หรือหยุดรอเพื่อข้ามถนน เป็นต้น ดังนั้นจุดประสงค์ ของการปูกระเบื้องชนิดนี้บนทางเท้า ก็เพื่อความปลอดภัยให้คนตาบอดได้เดินไปโดยเฉพาะ ตัวอย่างการปูกระเบื้องชนิดนี้ …

Continue Reading