Staircases III

Staircase

วันนี้ขอพูดถึงบันไดที่สร้างด้วยคอนกรีตครับ ถือได้ว่าเป็นบันไดที่ใช้กันโดยทั่วไปในอาคารต่าง ๆ  บันไดคอนกรีตจัดเป็นบันไดที่เป็นวัสดุทนไฟและเป็นวัสดุถาวร ส่วนใหญ่จะใช้คอนกรีตสำหรับบันไดหลักขึ้นลงทั่วไปรวมไปถึงบันไดหนีไฟด้วย  รูปแบบของบันไดคอนกรีตมีหลายแบบ เช่น

  1. บันไดแบบท้องเรียบ เป็นบันไดที่นิยมสร้างกันโดยทั่วไป เปรียบได้กับการสร้างพื้นแล้วค่อยสร้างขั้นบันไดภายหลัง ไม่ซับซ้อนแต่มีความหนาของบันไดมากและน้ำหนักมากด้วย
  2. บันไดแบบพับผ้า เป็นบันไดที่นิยมสร้างแต่น้อยกว่าแบบแรก เพราะขั้นตอนการก่อสร้างและเสริมเหล็กทำได้ยากกว่า ต้องการความปราณีตในการก่อสร้างมากกว่า

stairs iii, fenndesigners  3. บันไดลูกนอนแบบเปิด ไม่มีลูกตั้ง ส่วนมากจะทำเป็นบันไดโชว์ของอาคาร บันไดนี้อาจมีคานโครงสร้างเสริมรับลูกนอนบันไดตรงกลางเป็นแบบ แม่บันไดเดี่ยวหรือคู่ บางครั้งมีการออกแบบขั้นบันไดยื่นออกมาโดยไม่มีโครงสร้างรับที่ปลายขั้นบันไดอีกด้านหนึ่ง

02

บันไดในอาคารต่าง ๆ ยังคงมีการทำผิวสำเร็จ ( floor finishes) ที่แตกต่างกันไปตามประเภทของอาคาร และ งบประมาณของเจ้าของอาคาร  การเลือกใช้วัสดุอาจแบ่งข้อพิจารณาได้ดังนี้

  1. ผิวคอนกรีต เหมาะกับบันไดที่ใช้งานไม่บ่อยครั้ง เช่น บันไดหนีไฟ เนื่องจากมีราคาค่าก่อสร้างน้อยที่สุด การก่อสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
  2. พื้นปูไม้ เหมาะกับอาคารที่มีการสัญจรภายในน้อย เช่น บ้านพักอาศัย การเดินขณะใส่รองเท้าจะสร้างเสียงรบกวนค่อนข้างมาก วัสดุชนิดนี้จึงอาจจะไม่เหมาะกับอาคารสาธารณะ
  3. พื้นปูด้วยหิน  เหมาะกับอาคารทั่วไปที่มีการสัญจรมาก การทำจมูกบันไดมักใช้วิธีการเซาะร่องและมักเป็นจุดอ่อนที่ทำให้พื้นบริเวณจมูกบันไดแตกหักเสียหาย กรณีพื้นเปียกน้ำอาจทำให้เกิดการลื่นหกล้มได้
  4. พื้นปูด้วยกระเบื้องยาง เหมาะกับอาคารทั่วไป เสียงรบกวนจากการเดินขณะใส่รองเท้ามีบ้าง ไม่ทนทานต่อการถูกน้ำแช่ขัง ทำความสะอาดง่าย จมูกบันไดที่ใช้มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งที่ทำจากอลูมิเนียม พีวีซี รวมไปถึงอลูมิเนียมติดแถบกันลื่น
  5. พื้นปูด้วยกรวดล้าง เหมาะกับบันไดที่อยู่ภายนอกอาคาร โดยมีผิวสัมผัสที่หยาบเพื่อช่วยลดการลื่นขณะเดินตอนพื้นเปียกน้ำ ข้อด้อยคือผิวสัมผัสที่หยาบจะเก็บฝุ่น ทำความสะอาดได้ยากกว่า

03

ราวกันตกของบันได ข้อควรพิจารณาในการออกแบบอาจแบ่งได้ดังนี้

  1. ความสูงของราวกันตก ตามกฎหมายและระยะที่เหมาะสมในการทำราวจับบันไดจะอยู่ที่ 900 มม จึงทำให้หลายครั้งในการออกแบบที่ผู้ออกแบบเลือกที่จะทำราวกันตกที่ความสูงเดียวกันซึ่งอาจจะยังไม่ปลอดภัยเนื่องจากเป็นจุดกึ่งกลางของร่างกาย หรือเป็นจุดหมุน คนที่มีคสามสูงมากหน่อยอาจตกจากราวกันตกนี้ได้ ระยะความสูงของราวกันตกตามมาตรฐานทั่วไปจะอยู่ที่ 1,100 มม
  2. วัสดุที่ใช้ทำราวกันตก สามารถเลือกใช้ได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก ไม้ กระจก อลูมิเนียม และอื่น ๆ แต่สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาคือ ความปลอดภัยของผู้ใช้

–         ราวกันตกที่ทำด้วยกระจก ข้อควรพิจารณาคือความปลอดภัยหากกระจกเกิดการแตก แผ่นของราวกันตกจะต้องไม่ทำอันตรายต่อประชาชนที่เดินอยู่ด้านล่างลงไป วัสดุที่เลือกใช้จึงควรเป็นกระจกลามิเนทที่ใช้ฟิล์มแบบพิเศษ ป้องกันการหลุดของแผ่นกระจกจากจุดยึด กระจกแบบเทมเปอร์อาจจะไม่เหมาะสม

–         ราวกันตกที่ทำด้วยท่อหรือ ส่วนของเหล็กกล่อง จะมีข้อพิจารณาเพิ่มขึ้นในส่วนของความปลอดภัยต่อเด็ก ท่อที่ทำหน้าที่ราวกันตกจะต้องไม่มีระยะห่างกันเกิน 100 มม และมีรูปแบบการติดในแนวตั้งเพื่อป้องกันเด็กปีนป่าย

–         ราวกันตกที่ติดขนาดไปกับผนัง ควรมีการพิจารณาในเรื่องความสะดวกในการทำความสะอาด การติดราวกันตกที่ทำด้วยกระจกขนานไปกับผนังเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. ส่วนฐานของราวกันตกควรมีการออกแบบให้รองรับการทำความสะอาดพื้น บางครั้งอาจจะต้องยกขอบพื้นขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากการทำความสะอาดพื้นไหลย้อยลงไปด้านล่าง ที่ท้องบันไดควรทำแนวเซาะร่องเอาไว้เพื่อให้น้ำหยดบริเวณแนวเซาะร่องนี้เช่นกัน

Leave A Comment