Roads and Manholes

  ทุกครั้งที่ขับรถเข้าหรือออกจากซอยตอนมาทำงานและกลับบ้าน ก็นึกในใจทุกครั้งว่า ทำไมทางราชการต้องทำถนนโดยให้มีท่อระบายน้ำและบรรดาฝาต่าง ๆ ของระบบสาธารณูปโภคมาอยู่ในผิวทางจราจรด้วย ทำไมไม่ทำถนนลาดยางให้เรียบเหมือนกับทางเดินในอาคารบ้าง ผมพยายามเข้าใจครับกับถนนซอยบางเส้นที่มีการขยายเส้นทางให้มีขนาดกว้างขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดก็ต้องนำบ่อพักท่อระบายน้ำมาอยู่ร่วมกับถนน เลยเกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสร้างฝาบ่อพักต่าง ๆ ให้อยู่ในระนาบเดียวกับถนนหรือมีความต่างระดับกันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนได้มีโอกาสได้เห็นการทำงานปรับปรุงผิวทางจราจาตามซอยต่าง ๆ แถวบ้าน โดยหลักการทั่วไปจะเป็นการเสริมฝาบ่อพัก จากนั้นจะเสริมผิวจราจรด้วยยางมะตอยและใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการบดอัดผิวให้เรียบ     เท่าที่ดูการทำงานของคนงานพบว่า เมื่อทำการปรับระดับฝาบ่อพัก จะมีการยกฝาบ่อพักเดิมทิ้งไป และสกัดคอนกรีตของเดิมเพื่อก่อสร้างขอบบ่อพักใหม่ แต่ไม่พบว่ามีการถ่ายระดับของถนนมาเป็นระยะอ้างอิงของขอบบ่อพักใหม่ ตรงจุดนี้น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้ฝาบ่อพักไม่ได้ระดับกับผิวจราจร รวมไปถึงการระบายน้ำไม่หมดไปจากผิวจราจร ถ้าดูจากรูปฝาบ่อระบายน้ำจะเห็นได้ว่า จะมีส่วนของฝาบ่อพักและตัวบ่อพัก และจบด้วยผิวถนนยางมะตอย เนื่องจากเป็นการทำงาน 3 ครั้งจึงมีโอกาสมากที่จะได้ระดับต่าง ๆ ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการที่ไม่มีแบบขยายการทำขอบบ่ออย่างถูกต้อง จึงได้ผลลัพธ์ของการก่อสร้างแบบที่เห็น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น เช่น องค์การโทรศัพท์ในการยกระดับฝาบ่อพัก จนท้ายที่สุดเราก็ได้ถนนตามรูปข้างล่าง จะเห็นได้ว่าระดับของฝาบ่อต่ำกว่าระดับถนนที่ลาดยางใหม่อย่างชัดเจน อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังตรงบริเวณฝาบ่อ การที่ฝาบ่อที่เป็นเหล็กเปียกน้ำหรือมีน้ำท่วงขังอาจก่อให้เกิดความอันตรายกับรถจักรยานหรือจักรยานยนต์ลื่นล้นได้ตรงบริเวณดังกล่าว ทางออกหนึ่งที่อยากจะเสนอคือการออกแบบฝาบ่อพักต่าง ๆ ใหม่โดยออกแบบให้สามารถปรับระดับขึ้นสูงกว่าเดิมเพื่อให้การทำผิวถนนยางมะตอยได้พอดีกันตามแบบร่างด้านล่าง แนวทางคือ ออกแบบฝาบ่อพักโดยให้มีการใช้สกรูตัวหนอนขนาดใหญ่ 4 ตัวติดตั้งบริเวณมุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อใช้ไขปรับระดับความสูงของฝาบ่อพักให้สูงใกล้เคียงกับผิวถนน  สกรูตัวหนอนจะยึดกับน๊อตตัวเมียขนาดใหญ่ที่สร้างโดยยึดติดกับฝาบ่อ เมือไขสกรูตัวหนอนลงไป แกนของสกรูตัวหนอนจะดีดฝาบ่อให้สูงขั้น อย่างไรก็ดี การลาดยางผิวถนนยังต้องต้องมีการตรวจสอบความลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลลงไปยังฝาบ่อระบายน้ำ   จากแบบขยายข้างต้นเราก็จะได้ฝาบ่อพักที่ปรับระดับให้สูงขึ้นได้เพื่อรองรับการทำงานถนนยางมะตอยที่ทำระดับผิวสำเร็จได้ไม่ดี เพื่อลดปัญหาถนนและระดับฝาบ่อพักที่ไม่เท่ากัน  …

Continue Reading

The Life of a Pedestrian in Bangkok

ชีวิตของคนกรุงอย่างเราท่าน ในแต่ละวันย่อมมีโอกาสได้ลุกเดินออกไปบ้าง เพื่อประกอบธุระกิจการงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินไปตามที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครของเรา สภาพทางเท้า หรือ ฟุตบาท ที่ถูกร่วมกันใช้ประกอบกิจ ที่หลากหลาย บ้างก็ใช้เป็นที่พัก บ้างก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นทั้งตลาด เป็นวินรถมอเตอร์ไซด์ ทำสวนส่วนตัวไว้หน้าบ้าน ท่ามกลางการใช้ประโยชน์บนทางเท้า อย่างมากคณานับ ความปลอดภัยของผู้เดินเท้า (pedestrian) ก็ค่อยๆ หายไป บางทีต้องเดินหลบร้านส้มตำที่อยู่บนทางเท้าลงไปเดินในถนนแทน แล้วก็เสี่ยงกับการถูกรถเฉี่ยวชน บางที่ ผจญกับทางเท้าที่กำลังซ่อมแซมโดยไม่มีป้ายเตือนบอกเหตุเลย หลายคนได้รับบาดเจ็บจากวัสดุก่อสร้างที่วางไว้อย่างระเกะระกะ บางคนเดินตกหลุมซึ่งเป็น บ่อพัก (manhole) ทางเท้าบางช่วงเสียหาย คนพิการต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล ทางเท้าบางแห่งเจ้าของห้างใหญ่เอาป้ายโฆษณามากั้นไว้อย่างหน้าตาเฉย มีอะไรไหม ยังไม่ได้รวมถึงน้ำที่หยดลงมาจากกันสาดที่อยู่เหนือทางเท้าเมื่อเวลาฝนตก นี่คือความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพมหานคร แต่ทางเท้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ก็สวยงามน่ารื่นรมย์ อยากให้กรุงเทพของเราเป็นอย่างนี้ทั้งหมดจังเลย เราในฐานะนักออกแบบก็อยากเห็นกรุงเทพมหานคร มีทางเท้าสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัยในการ  เดินทาง ไม่มีคนที่เห็นแก่ตัว เอาสถานที่ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ นำไปใช้สำหรับตัวเองผู้เดียวจนลืมนึกไปว่า คนอื่นก็ยังค้องใช้เช่นกัน และคนเดินบนทางเท้าหลายคนก็ได้ชำระภาษีให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นงบประมาณนำมาสร้างและบำรุงรักษาทางเท้าเหล่านั้นให้มีสภาพที่ดี เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต

Continue Reading