Footpaths becoming markets

วันนี้ยังคงอยู่ตามท้องถนนครับ ถนนหลายสายในกรุงเทพฯ มีการกำหนดให้เป็นเขตห้ามจอดรถยนต์ เวลาเราขับรถผ่านร้านอาหารอร่อย ๆ เลยทำให้พลาดโอกาสแวะชิมรสชาด บางซอยจอดรถแล้วโดนตำรวจจราจรมาล๊อคล้อก็อาจจะทำให้อาหารลดความอร่อยลงไปได้ ทางเท้าในปัจจุบัน จะมีส่วนหนึ่งที่เป็นทางเดินใต้ชายคาหน้าตึกแถว ตามกรรมสิทธ์แล้วเป็นของตึกแถวแต่จากสภาพการใช้งานจริงก็ได้กลายเป็นทางสาธารณะไปแล้วบางพื้นที่ทางร้านค้าเจ้าของตึกแถวก็มีการนำของออกมาตั้งขายทำให้พื้นที่ทางเท้าลดลง อย่างไรก็ดี ในบางพื้นที่ทางราชการกลับมาการทำพื้นที่ทางเท้ามาทำที่ขายของ บางที่เป็นแค่การตีเส้นกำหนดแนวขายของ บางที่มีการทำหลังคาขนาดใหญ่คลุม กลายเป็นอาคารบนทางเท้าขายของกันอย่างถาวร สิ่งก่อสร้างนี้เกิดขึ้นที่ทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย ตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่ได้มีการสร้างและใช้งานไปนานแล้วและในปัจจุบันกำลังมีการขยายพื้นที่ให้เพิ่มมากขึ้นโดยสร้างบนทางเท้าอีกเช่นเคย ถ้าท่านทั้งหลายได้มีโอกาสขับรถบนถนนพระราม 4 จะทราบดีว่าถนนที่ขับมาจากแยกเกษมราษฎร์ที่มี 4 ช่องทางจราจร จะมารวมกับจุดสิ้นสุดของถนนทางรถไฟเก่าที่มี 2 ช่องจราจร แล้วถูกลดขนาดถนนเหลือ 3 ช่องจราจรบริเวณตลาดสดคลองเตยที่มีการจราจรคับคั่ง แต่ความจริงแล้วยังคงมีการเสียผิวทางจราจรอีกหนึ่งช่องทางด้านซ้ายไปกับที่จอดรถสามล้อเครื่อง ป้ายรถประจำทาง หรือจากรถยนต์ที่มีการจอดซื้อสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสภาพการจราจรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงคือ ตำแหน่งและพื้นที่จอดรถยนต์ เพราะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ที่จอดรถก็ยังคงจำเป็นสำหรับประชาชนที่ใช้บริการในจุดนั้น ๆ รวมไปถึงเส้นทางของการลำเลียงสินค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจะนำพื้นที่ทางเท้ากลับไปเป็นพื้นที่ใช้สอยจึงควรมีการพิจารณาเป็นพิเศษรวมไปถึงการจัดเตรียมพื้นที่จอดรถยนต์ไว้อย่างพอเพียง อาจจะต้องมีการซื้อตึกแถวบางส่วนในบริเวณดังกล่าวหรือบริหารพื้นที่โล่งด้วยวิธีการพบกันครึ่งทางระหว่างพื้นที่ขายของบนทางเท้ากับที่จอดรถ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

Continue Reading

The Life of a Pedestrian in Bangkok

ชีวิตของคนกรุงอย่างเราท่าน ในแต่ละวันย่อมมีโอกาสได้ลุกเดินออกไปบ้าง เพื่อประกอบธุระกิจการงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน แต่มีอย่างหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินไปตามที่ต่างๆในกรุงเทพมหานครของเรา สภาพทางเท้า หรือ ฟุตบาท ที่ถูกร่วมกันใช้ประกอบกิจ ที่หลากหลาย บ้างก็ใช้เป็นที่พัก บ้างก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นทั้งตลาด เป็นวินรถมอเตอร์ไซด์ ทำสวนส่วนตัวไว้หน้าบ้าน ท่ามกลางการใช้ประโยชน์บนทางเท้า อย่างมากคณานับ ความปลอดภัยของผู้เดินเท้า (pedestrian) ก็ค่อยๆ หายไป บางทีต้องเดินหลบร้านส้มตำที่อยู่บนทางเท้าลงไปเดินในถนนแทน แล้วก็เสี่ยงกับการถูกรถเฉี่ยวชน บางที่ ผจญกับทางเท้าที่กำลังซ่อมแซมโดยไม่มีป้ายเตือนบอกเหตุเลย หลายคนได้รับบาดเจ็บจากวัสดุก่อสร้างที่วางไว้อย่างระเกะระกะ บางคนเดินตกหลุมซึ่งเป็น บ่อพัก (manhole) ทางเท้าบางช่วงเสียหาย คนพิการต้องเดินทางอย่างทุลักทุเล ทางเท้าบางแห่งเจ้าของห้างใหญ่เอาป้ายโฆษณามากั้นไว้อย่างหน้าตาเฉย มีอะไรไหม ยังไม่ได้รวมถึงน้ำที่หยดลงมาจากกันสาดที่อยู่เหนือทางเท้าเมื่อเวลาฝนตก นี่คือความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางส่วนหนึ่งของคนกรุงเทพมหานคร แต่ทางเท้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ก็สวยงามน่ารื่นรมย์ อยากให้กรุงเทพของเราเป็นอย่างนี้ทั้งหมดจังเลย เราในฐานะนักออกแบบก็อยากเห็นกรุงเทพมหานคร มีทางเท้าสะอาด สวยงาม มีความปลอดภัยในการ  เดินทาง ไม่มีคนที่เห็นแก่ตัว เอาสถานที่ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติ นำไปใช้สำหรับตัวเองผู้เดียวจนลืมนึกไปว่า คนอื่นก็ยังค้องใช้เช่นกัน และคนเดินบนทางเท้าหลายคนก็ได้ชำระภาษีให้แก่รัฐบาล เพื่อเป็นงบประมาณนำมาสร้างและบำรุงรักษาทางเท้าเหล่านั้นให้มีสภาพที่ดี เพื่อทุกคนจะได้มีโอกาสใช้ทางเท้าได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิต

Continue Reading