Understanding the Dynamics of Water to Prevent Flood

คนส่วนใหญ่คงจำได้เรื่องฝนพันปีที่เคยท่วมทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทย และ กรุงเทพมากมาย เมื่อสมัยที่พลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ปี 2528 และทุกคนคงจำได้ไม่ลืมเลือนถึงความตระหนกกลัว เมื่อปีที่แล้ว(2554) ที่มวลน้ำเหนือไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร ผสมโรงกับน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงมาจากฟากฟ้าวันแล้ววันเล่า เท่าที่จำความได้ ยังไม่เคยมีปีไหนที่น้ำเหนือจะไหลบ่าลงมาด้วยมวลน้ำที่มากมายมหาศาลขนาดนี้ จาก 2 เหตุการณ์ที่กล่าวถึงข้างต้น ต่างเกิดจากธรรมชาติ ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ที่ทำให้ฝนตกมากผิดปรกติ เหตุการณ์แรกเขื่อนที่อยู่ด้านเหนือน้ำ ได้รับการบริหารจัดการอย่างดี เก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนในปริมาณที่เหมาะสม กรุงเทพจึงต่อสู้กับภัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่วนเหตุการณ์ที่ 2 ที่ผ่านเราไปหยกๆ เขื่อนต่างๆ ไม่ได้รับการบริหารจัดการที่เหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งคือ เขื่อนทุกเขื่อนต่างเก็บกักน้ำไว้เต็มปริมาณความจุของตัวเขื่อน เมื่อเกิดเหตุผิดปรกติ คือ มีดีเปรสชั่นเกิดขึ้น 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน และด้วยเคราะห์กรรมซ้ำเติม ที่ทำให้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมหาศาลไปตกหลังเขื่อน หมายความว่า เขื่อนเหล่านั้นที่มีน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้ว ไม่สามารถรับน้ำฝนที่ไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติมได้อีก ต่างต้องรีบปล่อยน้ำออกจากเขื่อน อย่างมากมายเพราะกลัวเขื่อนพังทลาย เป็นธรรมดาที่น้ำย่อมไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ น้ำจากเขื่อน จึงไหลท่วมจังหวัดต่างๆ ที่อยู่ท้ายเขื่อน อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทมุธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครในที่สุด ดังนั้น เราต้องตั้งสติให้ดี วิเคราะห์ให้ถูกจุดว่า จะรับมืออย่างไรกับธรรมชาติ หน่วยงานของรัฐต้องมีวิสัยทัศน์ …

Continue Reading

The Environmental Cost of New Waterfront Development

Human settlements developed  and expanded  near water for centuries, When roads were primitive, water was a source for food, agriculture, transportation, materials, trade, people well being and prosperity. No wonder that most of the world greatest cities are built along major rivers and seashores. Bangkok, London, Paris, Venice like many others waterfront cities have developed over the centuries to become …

Continue Reading