The New Foolishness of Flood Protection in Bangkok

Flood ! Flood ! Flood !

ในชีวิตคนกรุงอย่างเราท่านคงหนีไม่พ้น คำว่า น้ำท่วม ปี พศ 2554 เป็นปีที่ทำให้ทุกคนจดจำ หวาดผวา ขวัญเสีย ใจเสีย ทำใจไม่ได้ ตกใจกลัว ลนลาน เสียสุขภาพจิต ทุกๆ 5 นาที ในการสนทนาไม่ว่าเรื่องใด ทุกการสนทนาจะหนีไม่พ้น เรื่องน้ำกำลังมา ศัพท์ทางเทคนิดที่พวกวิศวกรใช้กันเริ่มทำให้คนส่วนใหญ่ได้รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น ต้นน้ำ ท้ายน้ำ มวลน้ำ ลูกบาศก์เมตร ระดับน้ำสูงเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก) รวมถึงการมีเชื้อโรค และพิษภัยที่มาจากน้ำ ถ้าคิดในทางบวกก็เป็นการดี ที่สถาณการณ์ได้พัฒนากลายเป็นห้องเรียนให้กับคนไทยส่วนมาก และได้รู้ว่าเมื่อถึงภาวะคับขันคนไทยมีน้ำใจงามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนไทยหลายคนมีจิตอาสาช่วยคนยากในยามที่ภาวะที่ซึมเศร้าอย่างนั้น

ภาพถ่ายดาวเทียม ประมาณเดือน ตุลาคม 2554 มวลน้ำจากทิศเหนือเริ่มไหลลงทางใต้ที่ต่ำกว่า เพื่อไหลลงทะเล 

ผมคงไม่อยากวิจารณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมมวลน้ำจึงมีมากมายขนาดนี้ ดูในรูปแล้วยิ่งหวาดกลัว ยิ่งคนที่อยู่ใกล้พื้นที่น้ำท่วมจะมองเห็นภาพได้ดี ตอนที่มวลน้ำไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว เอ่อท่วมบ้านเรือนเกือบถึงชั้น 2 ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง รถยนต์ ยังเอาออกไม่ทัน ทั้งๆที่ มีการบอกข่าวทั้งภาพ และเสียงตลอดเวลา

ทั้งรัฐบาล หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็เสนอแนวคิด แนวทางป้องก้นออกมามากมาย ดังเช่น

รัฐบาลได้กำหนดการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยิน โดยการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะที่เรียกว่า สำนักงานบริหารจัดการน้ำ และอุทุกภัย (กบอ) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี่ โดยกำหนดแผนในการป้องกันน้ำท่วมทั้งอย่างเร่งด่วน และอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันได้ทำการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาดำเนินการ กำหนด วางแผนเพื่อป้องกันอุทุกภัยนี้ภายในปีนี้ โดยมีงบประมาณในการดำเนินการมากกว่า สามแสนล้านบาท

กรมทางหลวงก็เสนอให้ทำการก่อสร้างวงแหวนรอบนอก ตามในรูปด้านล่าง ด้วยงบประมาณสูงถึง สองแสนกว่าล้านบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าสู่ใจกลางกทม โดยสิ้นเชิง

ถนนวงแหวนกั้นพื้นที่ส่วนกลางไว้ น้ำส่วนที่อยู่รอบนอกเส้นวงแหวนไปไหนได้บ้าง ไปท่วมชาวบ้านหรือเปล่า ใครตอบได้บ้าง

กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ ได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อการป้องกันน้ำท่วม ในเขต กทม ภายใต้การนำของท่านผู้ว่า

จุดประสงค์ขั้นสุดยอดของกทม คือ ป้องกันทุกวิถีทางเพื่อ ไม่ให้น้ำเหนือ ไหลเข้าสู่ใจกลาง กรุงเทพมหานคร โดยกทมได้ทุ่มงบประมาณมากมายในการนี้ โดยการดำเนินการโดยเร่งด่วนไม่ต้องรอโครงการอื่นใด จนเป็นการวิพากวิจารณ์จากหลายฝ่าย และหนังสือพิมพ์ ได้ล้อเลียนว่า เป็นคนขวางคลองพร้อมวาดรูปท่านนอนขวางทางน้ำไหลลงทะเลโดยไม่ยี่หระว่าผู้อยู่รอบนอกแนวกันน้ำจะมีชะตากรรม อย่างไร ยกตัวอย่างที่ผมเห็นกับตา กทมได้ดำเนินการโดยไม่บอกกล่าวชาวบ้านไม่มีแม้นกระทั้งป้ายบอกว่าจะทำอะไร

  1. ในการนำถุงกระสอบทรายไปปิดทางน้ำ ท่อระบายน้ำต่างๆ เพื่อไม่ให้น้ำจากภายนอกไหลเข้าพื้นที่ภายในกทม และให้ระบบสูบน้ำของกทมสูบน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ออกสู่ข้างนอก ไม่มีใครตอบได้ว่า ถุงกระสอบทรายเหล่านั้น จะย่อยสลายในเวลาใด และตอนนั้นทรายที่อยู่ในถุงก็ไหลไปทับถมในลำคลองต่างๆ  ผลทำให้ทางน้ำที่เคยใช้เป็นทางระบายน้ำอุดตัน ไม่เป็นไร กทม ก็ตั้งงบประมาณใหม่ลอกทรายออกก็เท่านั้นเอง ง่ายๆ
  2. เอาแท่งคอนกรีตขนาดใหญ่ไปปิดกั้นตามแนวถนน ดูรูป กทมอ้างว่าวางไว้ไม่เดือดร้อนใครเพราะวางบนเขตทางของกทม การวางก็แสนง่ายเพียงเทคอนกรีตหยาบบางๆ แล้วก็เอาแท่งคอนกรีตหนัก ท่อนละ 1 ตันวางไว้ เพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยใช้งบประมาณมหาศาล จากภาษีที่เราท่านได้เสียไปให้แก่รัฐบาลนำไปใช้จ่ายอย่างนี้

การที่ กทม ได้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อป้องกันน้ำท่วม เป็นการดำเนินการโดยขาดหลักการทางด้านวิศวกรรมสนับสนุน และเป็นการใช้งบประมาณที่เป็นเงินภาษีที่พวกเราเสียทุกปี ทำแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  อีกทั้งยังขัดแย้งกับนโยบายการป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ที่รัฐบาลกำลังว่าจ้างบริษัท ที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญเข้าดำเนินการ  ผมเห็นด้วยว่า กทม ควรทำอะไรสักอย่างเพื่อประคับประคอง สถาณการณ์ และ กทม ควรทำการป้องกันที่ลงทุนน้อยกว่านี้  และควรทำการเพื่อก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในรอยตะเข็บน้อยที่สุด

ระบบการบริหารจัดการและป้องกันน้ำท่วมอย่างยั่งยืนสามารถทำได้ หลายประเทศได้ทำสำเร็จ มาแล้ว ตัวอย่างที่ดีที่สุดสภาพเหมือนกรุงเทพมหานครที่สุดคือ มหานครลอนดอน