Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from construction)

เรื่องของอาคารป่วยยังขาดเนื้อหาบางประการ อาทิตย์นี้ ผมจึงขอขยายความต่อ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายในอาคาร ซึ่งประกอบด้วย 1. เกิดจากความไม่พิถีพิถันในการก่อสร้าง ผลพวงจากการก่อสร้าง ที่ทำแบบสุกเอาเผากิน  รีบๆทำให้เสร็จๆรับเงินแล้วก็ปัดฝุ่นจากไป ก่อสร้างอย่างไรก็ได้เพราะเจ้าของบ้านไม่รู้ ช่างหลายคนมักจะลักไก่ ขอยกตัวอย่างเช่น ส่วนที่ตาเรามองไม่เห็นช่างมักจะละเลยไม่ทำอะไรในส่วนนั้นเสมอ ถ้าท่านมีเวลาลองเอามือลูบที่ข้างใต้ประตู หรือ ข้างบนประตู เกือบจะร้อยทั้งร้อยที่ ช่างไม้ และช่างสีมักจะแกล้งลืมไม่ทำอะไรเลย  เช่นไม่ขัดไสไม้ให้เรียบ หรือไม่ทาสีเลย จากการกระทำของช่าง จึงเป็นสาเหตุทำให้ประตูไม้ พองตัวในช่วงฤดูฝน เปิด ปิดประตูยาก สาเหตุเกิดจาก ความชื้นในบรรยากาศช่วงฤดูฝนค่อยๆซึมผ่านประตู จากข้างใต้ และข้างบนประตูทำให้ประตูพองตัว ถ้าช่างมีสำนึกที่ดีทาสีในส่วนนี้เช่นเดียวกับส่วนอื่น นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดการพองต้วของประตูไม้แล้วยังจะทำให้ประตูนั้นได้รับการปกป้องอย่างดี และมีอายุยืนยาว หรือช่างบางคนไม่ทาสีรองพื้นกันสนิมเหล็ก ถ้าเป็นประตูเหล็กก็จะเกิดสนิมทำให้เหล็กค่อยๆผุกร่อนเสียหาย การก่อสร้างอย่างหละหลวมของช่าง เช่นนี้ จึงทำให้เราได้เห็นเหล็กเป็นสนิมตามที่ต่างๆ อยู่เสมอๆ ตามข้อกำหนดช่างสีจะต้องลงสีรองพื้น เวลาทาสีรองพื้นปูนช่างพยายามโน้มน้าวให้เจ้าของอาคารใช้ น้ำยารองพื้นเป็นชนิดสูตรน้ำ (Water base primer) ซึ่งไม่มีกลิ่น และสี เจ้าของบ้านก็ชอบที่ไม่มีกลิ่นรบกวน แต่ช่างกลับเอาน้ำเปล่าทารองพื้นปูนให้เจ้าของบ้านแทน ฯลฯ ทำให้สีที่ทาตามอาคารดูเก่าเร็ว หรือ หลุดร่อน หรือมีราขึ้นตามพื้นผิวคอนกรีตอย่างที่เห็นได้โดยทั่วไปในปัจจุบัน บ่อยครั้งที่ช่างประปาต่อเชื่อมท่อพีวีซี ไม่มีการเตรียมผิวชิ้นงานให้สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก หรือคราบน้ำมันแล้วก็ทากาวและติดชิ้นท่อพีวีซีเข้าด้วยกัน ทำให้ในเวลาไม่นานต่อมาท่อรั่ว …

Continue Reading

Sick Building Syndrome/ S.B.S (Causes from the exterior)

อาทิตย์นี้ ผมอยากขยายความอาการ และสาเหตุที่ทำให้อาคารป่วยอันเป็นผลเนื่องมาจาก ภายนอกอาคาร ซึ่งจะ  ประกอบด้วย: 1. อุณหภูมิที่แตกต่างในแต่ละช่วงเวลา ช่วงฤดู (Seasonal) ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องภูมิประเทศ หรือตำแหน่งที่ตั้ง ที่เห็นง่ายๆ ช่วงนี้ เกิดมีพายุโซนร้อนแกมี ซึ่งมีศูนย์กลางพายุอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แน่นอนย่อมทำความเสียหายให้แก่พื้นที่จังหวัดเสียมราฐ นั้นมากมายสุดคนานับ และแล้วพายุก็อ่อนตัวลงเป็นพายุดีเปรสชัน ประเทศไทยจึงได้รับความเดือดร้อนแค่เพียงฝนตกหนัก อาจจะมีน้ำท่วมขังบ้างขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่  สภาพภูมิประเทศของประเทศไทยทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิทั้งปี แตกต่างกันน้อยมาก ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากจนทำให้อาคารเสียหายได้  เว้นแต่ฤดูร้อน และฤดูฝนที่เป็นสาเหตุทำให้อาคารส่วนใหญ่ในประเทศเสียหายได้ และเกือบตลอดเวลาเมื่อฤดูนี้มาเยือน ความร้อน และความชื้นจากแดด และฝน ต่างก่อเกิดความเสียหายคนละอย่าง ดังเช่น เมื่อแสงแดดแผดเผาอาคารมากๆ ไม่เพียงแต่ความร้อนเท่านั้นที่แผดเผาอาคาร ยังพารังสีต่างๆมาด้วยมาทำความเสียหายอย่างอื่นให้แก่อาคาร อาคารแต่ละอาคารต่างก็ก่อสร้างด้วยวัสดุหลายอย่าง ซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก ไม้ อลูมิเนียม กระจก และไฟเบอร์กลาส เป็นต้น เมื่อวัสดุดังกล่าวถูกความร้อน ย่อมแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจาก วัสดุต่างๆ นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนั่นเอง ตัวอย่างที่จะอธิบายให้เห็นง่ายๆ เมื่อแสงแดดอันร้อนแรงสาดส่องไปที่พื้นคอนกรีตที่ประกอบด้วยวัสดุหลากหลายเช่น ซีเมนต์ หิน ทรายและเหล็กเสริม ซึ่งเหล็กจะขยายตัวได้มากกว่าวัสดุอื่นๆที่เป็นส่วนผสมในคอนกรีต ผลคือทำให้คอนกรีตร้าว และอาจจะเสียกำลังในการรับน้ำหหนักได้ …

Continue Reading

Simply put: Building Inspection _ สรุปการตรวจสอบอาคาร

ตามที่ผมได้เขียนไว้ใน blog ต่อเนื่องนับเป็นอาทิตย์ที่ 3 เริ่มตั้งแต่ข้อกำหนดทางกฏหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 ธํนวาคม พศ 2548 พร้อมกำหนดประเภทของอาคารที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดในกฏกระทรวง ที่จะต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยในการใช้อาคาร กล่าวโดยสังเขปประเภทของอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ 9 ประเภท คือ อาคารที่มีขนาดใหญ่ อาคารสูงเกิน 23 เมตร อาคารชุมนุมคน โรงงานขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุด โดยเป็นอาคารที่ได้ก่อสร้างมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี จะต้องทำการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กฏกระทรวงมีผลบังคับ โดยการรับรองจาก บุคคล หรือนิติบุคคลที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักควบคุม และตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ถ้าสงสัยว่าอาคารใดอาคารหนึ่งนั้นเข้าข่ายที่จะต้องทำการตรวจสอบอาคาร หรือไม่ ได้ในblog ที่ผมเขียนตาม link นี้ ได้ www. หรือจาก website ของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร http://services.dpt.go.th/mm_auditbldg/  ในwebsite ดังกล่าวยังสามารถตรวจหารายชื่อ ที่ยู่ของบุคคล หรือ …

Continue Reading

Fire safety is everyone’s business

Over and over again, I am walking in my home town wondering why are the basic health and safety rules totally ignored. The level of education of our population is increasing rapidly, our life style developing fast, but our awareness of how dangerous certain things are is still shocking. I am talking about fire protection in multistory buildings we live, …

Continue Reading

Fire and Life Safety in Bangkok Buildings

From Bangkok Post : “Fico fire spurs sprinkler law for over 1,000 old buildings” A tragic fire in an old  building in Bangkok gets headlines and everyone is looking around for who to blame, and a lot of talk of “New Laws” are spreading. It seems Bangkok is destined to remain a city trailing way back behind international fire and …

Continue Reading

Building Fire & Life Safety inspection, What happens?

The Ministerial Regulations of the Interior Ministry of Thailand are already into effect to define types of buildings that require owners to appoint a Building Inspector to inspect the buildings physical conditions and efficiency of its systems and equipments In accordance with the Building Control Act (the third edition) B.E. 2543 (A.D. 1990) and the Ministerial Decree B.E. 2548 (A.D. 2005), …

Continue Reading